ข่าวเศรษฐกิจ
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการวิเคราะห์ผลกระทบราคาน้ำมันจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนต่ออุตสาหกรรมไทยและเงินเฟ้อ ดังนี้
- กรณีที่ 1 หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปี 2565 อยู่ที่บาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีเพิ่มขึ้น 3.5% มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลง 26,017.6 ล้านบาท และ GDP หดตัว 0.5%
- กรณีที่ 2 หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปี 2565 อยู่ที่บาร์เรลละ 120 ดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีเพิ่มขึ้น 4.0% มูลค่า GDP ลดลง 148,820.5 ล้านบาท และ GDP หดตัว 1.6%
- กรณีที่ 3 (เลวร้ายสุด) หากราคาน้ำมันดิบโลกเฉลี่ยทั้งปี 2565 อยู่ที่บาร์เรลละ 140 ดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีเพิ่มขึ้น 5.0% มูลค่า GDP ลดลง 297,640.9 ล้านบาท GDP หดตัว 2.9%
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น โดยกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบคืออุตสาหกรรมที่ใช้การขนส่งและบริการขนส่งโดยตรง เช่น ค้าส่งค้าปลีก ธนาคารและบริการธุรกิจ รวมถึงกลุ่มเกษตรกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเป็นต้นทุนในการผลิต และหากราคาน้ำมันยังปรับสูงขึ้นจะกระทบไปถึงกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น (ฐานเศรษฐกิจ, 24-26 มี.ค. 2565)