ประเทศเป้าหมาย Home ประเทศเป้าหมาย เลือกประเทศเป้าหมาย ; Cambodia ; Ethiopia ; India ; Kenya ; Lao People's Democratic Republic ; Mozambique ; Myanmar ; Vietnam ; Tanzania United Republic of ; Africa search ข่าวเศรษฐกิจประเทศเป้าหมาย more ไทยจ่อเสียตำแหน่งตลาดรถยนต์อันดับ 3 ในอาเซียน Nikkei Asia รายงานว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาส 3/2567 ของไทยปรับลดลงถึง 28% (y-o-y) จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงจนส่งผลกระทบถึงสินเชื่อรถยนต์ในประเทศ ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ของไทยลดลงมากที่สุดในกลุ่ม 5 ประเทศผู้ผลิตรถยนต์ในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งมียอดจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาส 3/2567 รวมราว 7.63 แสนคัน หรือลดลง 7% (y-o-y) ขณะเดียวกันยอดจำหน่ายรถยนต์ของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่อันดับ 4 ในภูมิภาค กำลังขยับขึ้นมาติดๆ จนยอดจำหน่ายในไตรมาส 3/2567 ต่ำกว่าไทยเพียง 12,604 คัน จากที่เคยต่ำกว่าไทยถึง 113,111 คัน เมื่อสองปีก่อนหน้า ไทยจึงเสี่ยงที่จะถูกฟิลิปปินส์แซงหน้าขึ้นเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ระบุว่าความไม่แน่นอนในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์รวมลดลง ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ส่งเสริม EV ด้วยโครงการอุดหนุนต่างๆ ซึ่งดึงดูดผู้ผลิต EV จากจีน 7 รายให้เข้ามาลงทุนในไทย แม้ผู้ผลิตเหล่านี้จะยังไม่ได้ผลิตอย่างเต็มกำลังในปัจจุบัน แต่พบว่าอุปทาน EV ในไทยกำลังล้นตลาด เมื่อประกอบเป็นช่วงที่กำลังซื้ออ่อนแอจึงเป็นชนวนให้เกิดสงครามราคา ทำให้ผู้ซื้อเลื่อนการซื้อรถยนต์ออกไปเนื่องจากคาดการณ์ว่าราคาจะลดลงอีกในอนาคต (กรุงเทพธุรกิจ, 19 พ.ย. 2567) 20.11.2024 10 ผู้ส่งออกหวั่นบาทแข็ง-อินเดียฉุดส่งออกข้าวปี 2568 จากการที่ทางการอินเดียได้อนุมัติให้กลับมาส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติอีกครั้ง และยังกำหนดราคาขั้นต่ำสำหรับการส่งออกข้าวขาวที่ตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐนั้น สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่พบว่าอินเดียได้รับคำสั่งซื้อใหม่ เนื่องจากผู้นำเข้ายังรอดูสถานการณ์ผลผลิตที่จะออกในช่วงปลายปี 2567 แต่ก็ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับลดลง และจะทำให้ตลาดส่งออกข้าวจากนี้มีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น ทั้งนี้ สมาคมฯ ยังคงเป้าหมายการส่งออกข้าวไทยปี 2567 ที่ 8.5 ล้านตัน โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีส่งออกได้แล้ว 7 ล้านตัน และใน 3 เดือนสุดท้ายของปี เชื่อว่าไทยยังส่งออกข้าวได้เฉลี่ยเดือนละ 500,000 ตัน ซึ่งทำให้การส่งออกเข้าทั้งปีเป็นไปได้ตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการส่งออกข้าวในปี 2568 ที่มองว่าจะมีโอกาสส่งออกเหลือเพียง 6.5 ล้านตัน เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดโลกมีมาก ประกอบกับคาดว่าอินโดนีเซียที่เดิมมีการนำเข้าเฉลี่ยปีละ 4 ล้านตัน จะนำเข้าลดลงเหลือราว 1.5 ล้านตัน ในปี 2568 อีกทั้งเงินบาทที่แข็งค่าจะมีผลต่อการแข่งขันด้านราคา (ประชาชาติธุรกิจ, 3-6 ต.ค. 2567) 15.11.2024 11 อินเดียไฟเขียวส่งออกข้าวขาว-ลดภาษีส่งออกข้าว ดึงราคาลงทั้งแผง เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2567 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศลดภาษีส่งออกข้าวนึ่งลงจาก 20% เหลือ 10% เช่นเดียวกับที่ลดภาษีส่งออกข้าวกล้องลงเหลือ 10% ขณะที่ลดภาษีส่งออกข้าวขาวลงเหลือ 0% เพื่อกระตุ้นการส่งออกข้าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศยกเลิกราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำของข้าวบาสมาติไปแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2567 ได้ประกาศยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวที่มิใช่ข้าวบาสมาติ โดยกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำไว้ที่ตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากสต็อกข้าวของอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยสต็อกข้าว ณ วันที่ 1 ก.ย. 2567 อยู่ที่ 32.3 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 38.6% (y-o-y) ทำให้อินเดียมีข้าวเหลือมากขึ้นสำหรับการส่งออก สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาข้าวโลกปรับลดลงทันที โดยเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2567 ราคาข้าวนึ่ง 5% ของอินเดีย ลดลงจากตันละ 530-536 ดอลลาร์สหรัฐ ในสัปดาห์ก่อนหน้า เหลือตันละ 500-510 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ลดลงเหลือราวตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับราคาส่งออกข้าวของไทย เวียดนาม ปากีสถาน และเมียนมา ที่ลดลงไม่ต่ำกว่าตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐในวันเดียวกัน (www.reuters.com, 30 ก.ย. 2567) 15.11.2024 12 Hot Issue ประเทศเป้าหมาย more ส่งออกทุเรียนไทยไปจีนเสี่ยงสูง…คู่แข่งตีตลาด-จีนปลูกได้เอง ประเด็นสำคัญ ไทยส่งออกทุเรียนสดเพิ่มขึ้นกว่า 15 เท่าตัวช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยแทบทั้งหมดกระจุกตัวที่จีน ไทยเสี่ยงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดทุเรียนสดในจีนให้เวียดนามใน 3-4 ปีข้างหน้า หลังจีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนามเมื่อเดือน ก.ย. 2565 เพราะทุเรียนเวียดนามได้เปรียบด้านต้นทุนและระยะทาง รวมถึงเวียดนามเร่งขยายพื้นที่และพัฒนาการปลูกทุเรียนอย่างต่อเนื่อง การส่งออกทุเรียนสดของไทยไปจีนมีแนวโน้มเผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้น จากการที่ สปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์ เร่งเจรจาให้จีนอนุญาตนำเข้าทุเรียนสด รวมถึงคาดว่าพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในจีนจะเริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ในปี 2567 ไทยต้องรักษาคุณภาพทุเรียนสดให้มีมาตรฐานสูง รุกช่องทางการค้าออนไลน์มากขึ้น ตลอดจนบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ทุเรียนสด ... สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่เติบโตสูง แต่ส่งออกกระจุกตัวที่ตลาดจีน ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับ 1 ของไทย สร้างรายได้เข้าประเทศในปี 2564 มากถึงกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกว่าครึ่งเป็นการส่งออก “ทุเรียนสด” ซึ่งมีมูลค่าส่งออกเติบโตต่อเนื่อง จาก 200.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2555 เป็น 3,489 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 หรือขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงปีละ 37% (CAGR) โดยมีจีนเป็นตลาดหลักราว 80-90% ของมูลค่าส่งออกทุเรียนสดทั้งหมดของไทย อย่างไรก็ตาม การส่งออกทุเรียนสดของไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากการที่ปัจจุบันหลายประเทศมุ่งส่งออกทุเรียนสดไปจีนมากขึ้น จึงต้องติดตามว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นแค่แรงกระเพื่อมหรือจะเป็นแรงกระแทกต่อการส่งออกทุเรียนสดของไทย ไทยเสี่ยงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดทุเรียนสดในจีน : คู่แข่งเร่งรุกตลาดจีน-ผลผลิตทุเรียนในจีนเตรียมออกสู่ตลาด ศุลกากรจีนอนุญาตให้เวียดนามส่งออกทุเรียนสดไปจีนเป็นประเทศที่ 2 ของโลกต่อจากไทย โดยเวียดนามเริ่มส่งออกทุเรียนสดไปจีนแล้วตั้งแต่เดือน ก.ย. 2565 จากสถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนสดของไทย ดังนี้ >>> ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า : ไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดทุเรียนสดในจีนให้เวียดนามในปริมาณจำกัด เพราะทุเรียนสดจากเวียดนามยังไม่มีแบรนด์และแผนการตลาดที่เข้มแข็งเท่ากับไทย อีกทั้งปริมาณผลผลิตทุเรียนของเวียดนามที่ผ่านมาตรฐานส่งออกไปจีนได้ในปัจจุบันยังมีเพียง 68,000 ตัน หรือราว 8% ของปริมาณทุเรียนที่จีนนำเข้า (ปัจจุบันไทยส่งออกทุเรียนไปจีนราว 3 แสนตัน ครองส่วนแบ่งตลาดเกือบทั้งหมด) ประกอบกับคาดว่าจีนยังมีแนวโน้มบริโภคทุเรียนสดเพิ่มขึ้นอีกมาก การขยายการส่งออกทุเรียนสดของเวียดนามในระยะนี้จึงกระทบต่อการส่งออกทุเรียนสดของไทยไม่มากนัก ทั้งนี้ สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมฮวาจิงประเมินว่าตลาดทุเรียนในจีนจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% (ปี 2564-2569) >>> ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า : มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ไทยจะเสียส่วนแบ่งตลาดทุเรียนสดในจีนให้กับเวียดนาม เนื่องจาก เวียดนามมีศักยภาพในการแข่งขัน เนื่องจากมีต้นทุนเพาะปลูกต่ำกว่า โดยเฉพาะด้านค่าแรง อีกทั้งมีระยะทางขนส่งสั้นกว่า ทำให้นอกจากจะได้เปรียบทุเรียนไทยในด้านค่าขนส่งที่ถูกกว่าแล้ว ยังทำให้ทุเรียนเวียดนามตัดผลได้แก่กว่าทุเรียนไทย ซึ่งทุเรียนแก่เป็นที่ชื่นชอบของชาวจีนมากกว่าทุเรียนอ่อน ผลผลิตทุเรียนของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในเวียดนามขยายตัวเฉลี่ยถึงราวปีละ 11% (CAGR) และมีการคาดการณ์ว่าผลผลิตทุเรียนเวียดนามจะเพิ่มขึ้นจากราว 5 แสนตันในปี 2564 เป็น 7 แสนตันในปี 2569 ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนบางแห่งในเวียดนาม อาทิ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาตใต้ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนไปยังจีนได้ มีผลผลิตต่อไร่สูงถึง 3.6 ตัน มากกว่าผลผลิตต่อไร่ในพื้นที่ปลูกทุเรียนหลักของไทยอย่าง จ.จันทบุรี ซึ่งอยู่ที่ราว 2 ตัน เนื่องจากเกษตรกรเวียดนามในพื้นที่ดังกล่าว มุ่งพัฒนาทักษะและนำเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่มาปรับใช้อย่างจริงจัง สปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปินส์ อยู่ระหว่างเร่งเจรจากับจีนเพื่อส่งออกทุเรียนสดไปจีนเช่นเดียวกับเวียดนามซึ่งหากจีนทยอยเปิดตลาดนำเข้าทุเรียนจากประเทศเหล่านี้ ทุเรียนสดไทยในจีนจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะทุเรียนจาก สปป.ลาว ที่สภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกับไทย ทำให้ผลไม้มีรสชาติใกล้เคียงกับผลไม้ไทย อีกทั้งมีรถไฟจีน- สปป.ลาวซึ่งคาดว่าจีนจะเริ่มเปิดให้มีการส่งผลไม้ผ่านเส้นทางรถไฟเข้าจีนได้ในเดือน ธ.ค. 2565 โดยในปี 2564 ทั้ง 3 ประเทศมีผลผลิตทุเรียนรวมกันกว่า 5 แสนตัน หรือเกือบ 50% ของผลผลิตทุเรียนไทย และมีปริมาณส่งออกรวมกันเกือบ 2 แสนตัน หรือราว 1 ใน 4 ของปริมาณส่งออกทุเรียนไทยไปจีน ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกทุเรียนใน สปป.ลาว และกัมพูชาส่วนหนึ่งเป็นของบริษัทจีนที่เข้าไปปลูกทุเรียนเพื่อส่งกลับไปจีน จีนเร่งพัฒนาการปลูกทุเรียนในประเทศต่อเนื่อง จนปลูกทุเรียนพันธุ์มูซานคิงและพันธุ์หนามดำ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ขึ้นชื่อในมาเลเซียได้เป็นผลสำเร็จบนพื้นที่มากกว่า 12,500 ไร่ หลังจากเริ่มทดลองปลูกตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตสูงสุดปีละ 75,000 ตัน หรือเกือบ 10% ของปริมาณทุเรียนสดที่จีนนำเข้าในปี 2564 และจะเริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ในปี 2567 การที่ผลไม้มีแนวโน้มเผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการส่งออกโดยรวมของไทยในระยะถัดไป เนื่องจากผลไม้เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย และมีบทบาทในการพยุงการส่งออกในหลายวิกฤต อาทิ ในช่วงวิกฤต COVID-19ซึ่งมูลค่าส่งออกผลไม้เติบโตถึง 12% ในปี 2563 และ 48% ใน 2564 แต่ยังกระทบต่อการกระจายรายได้สู่เกษตรกรอีกด้วย Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้นโดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด 07.12.2022 2165 CLMV Snapshot Q1/2565 CLMV Snapshot : Update ความเคลื่อนไหวและข่าวน่าสนใจใน CLMV เป็นรายไตรมาส 01.04.2022 2633 ส่องทิศทางเศรษฐกิจและความเสี่ยง CLMV ในปี 2565 ประเด็นสำคัญ เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นสุดในกลุ่ม CLMV ขณะที่เมียนมาเป็นเพียงประเทศเดียวที่เศรษฐกิจคาดว่าจะหดตัวในปี 2565 จากสถานการณ์ COVID-19 และความวุ่นวายทางการเมืองยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ เมียนมาและ สปป.ลาว ที่ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำกว่าอัตราการฉีดวัคซีนโดยรวมของโลก ทำให้ COVID-19 ยังเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจ ขณะที่กัมพูชามีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนมากที่สุดจากการกระจายวัคซีนภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาหนี้สาธารณะของ สปป.ลาว กดดันความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล ขณะที่หนี้สาธารณะของเมียนมาปรับขึ้นรวดเร็ว แต่หนี้สาธารณะของเมียนมาส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมในประเทศ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการผ่อนชำระมากกว่าหนี้จากต่างประเทศ มูลค่าส่งออกของไทยไป CLMV ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวในทุกตลาด รวมถึงไปเมียนมา สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาทางการเมืองไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของไทย ขณะที่แนวโน้มส่งออกของไทยไป CLMV ในปี 2565 คาดว่าจะยังขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศ CLMV ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ CLMV ในปี 2565 คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นสุดที่ระดับ 6.6% เนื่องจากคาดว่าจะได้แรงหนุนจากการขยายตัวในภาคการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวดี ประกอบกับภาคส่งออก ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก มีแนวโน้มเติบโตดีจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่เศรษฐกิจกัมพูชามีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ 5.7% โดยได้อานิสงส์จากภาคส่งออก ประกอบกับการฉีดวัคซีนที่ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภค ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มค่อยๆ ฟื้นตัวหลังจากกัมพูชาอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วสามารถเดินทางเข้ากัมพูชาโดยไม่ต้องกักตัวตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2564 สำหรับ สปป.ลาว คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 4.2% เข้าใกล้ระดับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 เนื่องจากโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว ที่เตรียมเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค. 2564 จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนจากจีน ขณะที่การส่งออกโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ายังมีแนวโน้มเติบโต เนื่องจากมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเตรียมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพื่อส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงไทยเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2564-2565 ประกอบกับการที่จีนประกาศยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าของ สปป.ลาว จำนวน 97% ของสินค้าที่จีนนำเข้าทั้งหมดจาก สปป.ลาว ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2563 ทำให้การส่งออกสินค้าไปจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 2 มีแนวโน้มขยายตัว อย่างไรก็ตาม เมียนมาเป็นเพียงประเทศเดียวที่คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวในปี 2565 ที่ 0.1% โดยวิกฤต COVID-19 และความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนเศรษฐกิจของเมียนมา เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุน ไปจนถึงการบริโภคภายในประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน : เมียนมาเป็นประเทศที่น่ากังวลที่สุดจากอัตราการฉีดวัคซีนที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในอาเซียน สาเหตุหลักมาจากการขาดแคลนวัคซีนและบุคลากรทางการแพทย์ ไปจนถึงการที่ชาวเมียนมาบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นการต่อต้านรัฐบาล ส่งผลให้การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในเมียนมาอาจล่าช้าไปจนถึงปี 2568 ขณะที่ สปป.ลาว ยังคงมีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำกว่าอัตราการฉีดวัคซีนของโลก ทำให้เศรษฐกิจยังคงเปราะบางหากเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม กัมพูชาเป็นประเทศที่การฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากที่สุด เนื่องจากการกระจายวัคซีนภายในประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งรัฐบาลยังมีแต้มต่อจากการเป็นพันธมิตรของจีน ทำให้กัมพูชาได้รับวัคซีนบริจาคจากจีนมากถึง 27 ล้านโดส ปัญหาหนี้สาธารณะ : ความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล สปป.ลาว อยู่ในสถานะที่น่ากังวล เนื่องจากมีหนี้สาธารณะสูงถึง 71% ต่อ GDP โดยในช่วงปี 2564-2568 รัฐบาลมีภาระหนี้ที่ต้องชำระ (ดอกเบี้ยและเงินกู้ที่ครบกำหนด) เฉลี่ยราว 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำราว 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ การจัดเก็บรายได้ภาครัฐยังทำได้ลำบากในปัจจุบันจากวิกฤต COVID-19 อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาล สปป.ลาว มีการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องผ่านการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง และล่าสุดได้ตั้งเป้ารักษาระดับหนี้สาธารณะและหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2566 ไม่ให้เกิน 64.5% และ 55.4% ตามลำดับ โดยจะชะลอการกู้เงินใหม่และอาจต้องจำหน่ายสินทรัพย์รัฐบาลบางส่วนออกไป ซึ่งแผนดังกล่าวคาดว่าจะทำให้การลงทุนภาครัฐชะลอตัว แต่จะส่งผลดีต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ระดับหนี้สาธารณะของเมียนมาในปี 2564 ปรับขึ้นรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับ 58.4% ต่อ GDP จาก 34.2% ในปีก่อนหน้า เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลทางการคลังที่เพิ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์วิกฤต COVID-19 ประกอบกับสถานการณ์เงินจ๊าตในปัจจุบันที่อ่อนค่าลงราว 25% จากช่วงก่อนรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 ทำให้หนี้ต่างประเทศมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวถือว่ายังไม่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมในประเทศราว 60% ทำให้มีความยืดหยุ่นในการผ่อนชำระมากกว่าหนี้จากต่างประเทศ ผลกระทบและแนวโน้มต่อการส่งออกของไทยไป CLMV มูลค่าส่งออกของไทยไป CLMV ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวในทุกตลาด ไม่เว้นแม้แต่การส่งออกไปเมียนมาที่ขยายตัวถึง 13% แม้เมียนมาต้องเผชิญความวุ่นวายทางการเมือง แสดงให้เห็นว่าปัญหาทางการเมืองดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของไทย อีกทั้งหลายประเทศโดยเฉพาะชาติตะวันตกมีแนวโน้มลดระดับความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนกับเมียนมาลงเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการจัดการความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าว ยิ่งจะทำให้การค้ากับประเทศเพื่อนบ้านทวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับเมียนมา ทั้งนี้ แนวโน้มการส่งออกของไทยไป CLMV ในปี 2565 คาดว่าจะยังขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่อัตราขยายตัวของการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลง เนื่องจากการส่งออกไป CLMV ที่เพิ่มขึ้นสูงในปี 2564 ถือเป็นการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติจากที่วิกฤต COVID-19 ทำให้การค้าในปี 2563 หดตัวรุนแรง Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด 03.12.2021 1296 บทความเกี่ยวกับประเทศเป้าหมาย more India ไม่ไปไม่ได้แล้ว เมื่อกล่าวถึงประเทศที่เป็นดาวจรัสแสงท่ามกลางสถานการณ์ตลาดโลกที่เผชิญกับวิกฤตเข้ามาเป็นระลอก ตั้งแต่ COVID-19 ต่อเนื่องด้วยวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน และวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังก่อตัวขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกจากปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบันที่สูงทำลายสถิติในรอบหลายสิบปี คงหนีไม่พ้นประเทศอินเดียซึ่งสามารถใช้จังหวะวิกฤตสร้างโอกาสก้าวเข้ามามีบทบาทเทียบเคียงกับประเทศมหาอำนาจได้อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นตลาดส่งออกที่โดดเด่นน่าจับตามองมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทำไมอินเดียจึงเป็นตลาดส่งออกที่ไม่ควรมองข้าม คาดอินเดียจะมีจำนวนประชากรแซงจีน อินเดียและจีนเป็นเพียง 2 ประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1 พันล้านคน ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) คาดว่า ในปี 2566 อินเดียจะมีจำนวนประชากรแซงหน้าจีน โดยอินเดียจะมีประชากร 1,428 ล้านคน สูงกว่าจีนซึ่งอยู่ที่ 1,425 ล้านคน และประชากรอินเดียยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 30 ปี ที่สำคัญ 2 ใน 3 ของประชากรอินเดีย หรือราว 900 ล้านคนยังอยู่ในวัยแรงงานทำให้อินเดียเป็นตลาดที่หลายประเทศให้ความสนใจในแง่การเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาวที่พร้อมออกมาจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจอินเดียโตแรงเตรียมขึ้นแท่น Top 3 อินเดียสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจาก COVID-19 ให้กลับมาเติบโตในระดับสูงถึงเฉลี่ยเกือบ 8% ต่อปีช่วงปี 2564-2565 และขยับขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกแทนที่สหราชอาณาจักร (United Kingdom : UK) ล่าสุดจากประมาณการของ IMF ณ เดือนเมษายน 2566 พบว่าเศรษฐกิจของอินเดียจะยังเติบโตต่อเนื่อง และมีโอกาสจะแซงหน้าเยอรมนีและญี่ปุ่นขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐฯ และจีนได้ในปี 2570 จากตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และยังมีแนวโน้มใหญ่ขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจที่มีทิศทางเติบโต ซึ่งส่งผลให้รายได้ผู้บริโภคในอินเดียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย IMF ประเมินว่ารายได้ต่อหัวจะเพิ่มขึ้นจาก 2,601 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 เป็น 3,466 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2570 หรือเพิ่มขึ้นราว 35% ในอีก 5 ปีข้างหน้า สะท้อนถึงกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่อินเดียจะเป็นตลาดเนื้อหอมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดอินเดีย ที่ผ่านมาอินเดียอาจไม่ใช่ตลาดเป้าหมายหลักของผู้ส่งออกไทย สะท้อนได้จากสัดส่วนต่อการส่งออกของไทยไปอินเดียยังอยู่เพียงราว 2-4% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย แต่ขณะนี้นับว่าเป็นจังหวะที่ดีของผู้ส่งออกไทยในการขยายตลาดส่งออกไปอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ เติบโตสูง และผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงจากตลาดหลักที่เศรษฐกิจชะลอลง โดยสินค้าที่คาดว่าจะมีโอกาสเติบโตดี ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งไทยมีสินค้าหลายรายการที่มีศักยภาพในการส่งออกไปอินเดีย เช่น น้ำมันพืช เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ อัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงอาหาร โดยเฉพาะอาหารมังสวิรัติ เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีผู้รับประทานมังสวิรัติมากที่สุดในโลก โดยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรอินเดียรับประทานมังสวิรัติ สินค้าขั้นกลาง เช่น เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนรถยนต์ เพื่อนำไปใช้ในภาคการผลิตในประเทศ จากการที่อินเดียจะก้าวเป็นโรงงานแห่งใหม่ของโลก (New Factory of the World) ตามนโยบาย Make in Indiaทำให้มีความต้องการวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นอีกมาก ทั้งนี้ อินเดียเป็นฐานการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งอย่าง Apple, Xiaomi, Honda และ Hyundai อีกทั้งอินเดียยังมีการผลิตสินค้าจำนวนมากภายใต้แบรนด์ของตนเอง อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์มีแบรนด์อย่าง Tata Motor และ BAJAJ หรือมือถือก็มีแบรนด์อย่าง Lava และ Micromax ส่งผลให้ปัจจุบันอินเดียเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก และผู้ผลิต Smartphone รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก สำหรับการรุกตลาดอินเดียนั้น เนื่องจากอินเดียเป็นตลาดที่มีความหลากหลายของวัฒนธรรม ภูมิประเทศ เชื้อชาติ และระดับรายได้ ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคหลากหลายตามไปด้วย ผู้ประกอบการจึงควรทำความเข้าใจรูปแบบธุรกรรมการบริโภคของผู้บริโภคอินเดียก่อนจะนำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อเจาะตลาดอินเดียต่อไป Icon made by Flat Icons,eucalypt, digihal, riajulislam and Freepik from www.flaticon.com Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด 27.04.2023 265 ตลาด Fintech เวียดนาม...กับศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ วิกฤต COVID-19 ถือเป็นตัวเร่งให้ตลาด Fintech (Financial Technology) ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่คุ้นเคยกับการใช้เงินสดเป็นหลักอย่างเวียดนาม ส่งผลให้มีผู้เล่นจากทั้งในและนอกประเทศเข้ามาลงทุนเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจ Fintech ในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในธุรกิจ Digital Payment จนทำให้มูลค่าธุรกรรมในตลาด Fintech ของเวียดนามเติบโตก้าวกระโดดเฉลี่ยปีละกว่า 20% (ปี 2560-2564) อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันตลาด Fintech ของเวียดนามยังอยู่ในระยะเริ่มต้น อีกทั้งยังตามหลังประเทศในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ในด้านจำนวนบริษัท Fintech ที่น้อยกว่า แต่ที่ผ่านมาตลาด Fintech ของเวียดนามก็มีพัฒนาการที่โดดเด่นและเติบโตอย่างรวดเร็วจากปัจจัยสนับสนุนในหลากหลายมิติ จนหลายฝ่ายมองว่ามีโอกาสขึ้นแท่นเป็นตลาด Fintech ชั้นนำของอาเซียนในระยะข้างหน้า ตลาด Fintech ของเวียดนามจึงเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามในปัจจุบัน ภาพรวมตลาด Fintech เวียดนาม จำนวนผู้เล่นในตลาด Fintech : บริษัท Fintech ที่เปิดดำเนินการในเวียดนามมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา จาก 39 บริษัทในปี 2558 เป็น 188 บริษัท ณ เดือนกันยายน 2564 เทียบกับสิงคโปร์ที่มีบริษัท Fintech จำนวน 1,350 บริษัท อินโดนีเซีย 785 บริษัท มาเลเซีย 549 บริษัท ไทย 268 บริษัท และฟิลิปปินส์ 268 บริษัท ธุรกิจ Fintech ที่เป็นที่นิยม : ปัจจุบันธุรกิจ Fintech เข้ามามีบทบาทในสังคมและเศรษฐกิจเวียดนามเป็นอย่างมาก ซึ่งครอบคลุมการให้บริการที่หลากหลาย แต่ธุรกิจที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ E-wallet & Digital Payment สัดส่วน 31% ของส่วนแบ่งตลาด Fintech ทั้งหมดของเวียดนาม รองลงมา ได้แก่ สินเชื่อออนไลน์ (P2P Lending) 17% ธุรกิจ Blockchian/ Cryptocurrency 13% ระบบบริการจัดการหน้าร้าน (POS) 7.5% และธุรกิจ Wealth Management 7.5% สถานการณ์ตลาด Fintech : ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 บริษัท Fintech ในเวียดนามมีการระดมทุนได้ทั้งหมด 15 ดีล คิดเป็นมูลค่า 355 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยดีลที่มีมูลค่าระดมทุนสูงสุด คือ บริษัท VNPay แพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์รายใหญ่ของเวียดนาม ซึ่งระดมทุนได้ราว 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการระดมทุนรอบ Series B* จาก Venture Capital รายใหญ่จากสหรัฐฯ อย่าง General Atlantic และ Dragoneer Investment Group ร่วมกับ Venture Capital รายอื่นๆ จากสิงคโปร์และญี่ปุ่น หมายเหตุ : *การระดมทุนรอบ Series B หมายถึง การระดมทุนหลังจากธุรกิจเปิดตัวผลิตภัณฑ์และเริ่มสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้นเพื่อขยับจากช่วงพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่ช่วงของการขยายธุรกิจและฐานลูกค้า จึงนับเป็นรอบการระดมทุนที่ท้าทายกว่ารอบ Series A เนื่องจากบริษัทต้องแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจหลังได้รับเงินทุน ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ Fintech ในเวียดนาม ตลาด Fintech ของเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะข้างหน้า สอดคล้องกับข้อมูลของ Statista ซึ่งระบุว่าจะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 15% ในปี 2564-2568 และมูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2.63 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 ขณะที่นักลงทุนต่างชาติก็มีความเชื่อมั่นที่จะป้อนเม็ดเงินลงทุนเพื่อสนับสนุน Fintech Startup ในเวียดนาม รวมถึงการเข้ามาลงทุนเอง โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ดังนี้ เวียดนามเป็นประเทศ Rising Star ที่โดดเด่นจาก เศรษฐกิจที่เติบโตสูงและตลาดขนาดใหญ่ เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตสูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย โดย IMF คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 8% ในช่วง 5 ปีข้าง หน้า ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนามก็มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน และคาดว่าจะมีสัดส่วนราว 20% ของ GDP เวียดนามภายในปี 2568 ซึ่งจะสร้างโอกาสอย่างมากให้กับหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ Fintech ในเวียดนาม เวียดนามเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 100 ล้านคน โดยเกือบ 70% เป็นประชากรวัยหนุ่มสาว ซึ่งส่วนใหญ่มีทักษะและความเข้าใจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยมาเป็น Digital Payment มากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ยังเป็น Unbanked Population แต่ใช้ Mobile Internet ในระดับสูง เวียดนามเป็นประเทศที่ประชาชนยังเข้าไม่ถึงบริการธนาคาร (Unbanked Population) เกือบ 70% ของประชากรทั้งหมด และชาวเวียดนามที่มีเครดิตการ์ดมีเพียง 4% ขณะที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือสูงถึง 5% ของประชากรทั้งหมด ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการใช้จ่ายผ่าน Digital Payment ในเวียดนามยังเติบโตได้อีกมาก เนื่องจาก Digital Payment จะตอบโจทย์และแก้ Pain Point ของกลุ่ม Unbanked Population ได้อย่างตรงจุด สะท้อนได้จากจำนวนผู้ใช้บริการ Digital Payment ในเวียดนามคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากราว 50 ล้านคนในปี 2564 เป็น 70 ล้านคนในปี 2568 นอกจากนี้ สัดส่วน Unbanked Population ที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจ Fintech ในเวียดนาม ภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนา Fintech อย่างจริงจัง รัฐบาลเวียดนามได้ก่อตั้ง National Agency for Technology, Entrepreneurship and Commercialization Development (NATEC) ซึ่งเป็นศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านการเงินแก่ Fintech Startup ที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ในประเทศ นับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนรายใหม่ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เตรียมจัดตั้ง Fintech Sandbox ในภาคธนาคารของเวียดนาม ซึ่งจะเอื้อให้การพัฒนา Fintech ในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว และทำให้ SBV สามารถควบคุมเสถียรภาพและความเสี่ยงที่เกิดจากการพัฒนา Fintech ได้ดียิ่งขึ้น บริษัท Fintech รายสำคัญในเวียดนาม ปัจจุบันการแข่งขันในตลาด Fintech ของเวียดนามค่อนข้างรุนแรงจากผู้เล่นทั้งในและนอกประเทศ โดยมีผู้เล่นรายสำคัญ ดังนี้ ธุรกิจ E-wallet & Digital Payment ปัจจุบันผู้ให้บริการ E-wallet และ Digital Payment ในเวียดนามมีมากกว่า 30 ราย แต่ส่วนแบ่งตลาดเกือบทั้งหมดครอบครองโดยผู้ให้บริการไม่กี่ราย อาทิ MOMO, Zalo Pay, AirPay, MOCA, VNPAY และ Payoo เป็นต้น MoMo เป็นผู้ให้บริการ E-wallet รายใหญ่ที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดในเวียดนาม โดยเริ่มให้บริการในปี 2556 ปัจจุบันครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 60% มียอดผู้ใช้บริการกว่า 25 ล้านคน และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 50 ล้านคนในอีก 2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะก้าวสู่การเป็นแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมทุกบริการแบบครบวงจร หรือ Super App รวมถึงการเตรียมเสนอขายหุ้น IPO ภายในปี 2568 ล่าสุด MoMo ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท Startup ด้าน AI เพื่อต่อยอดในการพัฒนาบริการและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้บริการ ธุรกิจสินเชื่อออนไลน์ (P2P Lending) ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเจาะตลาดลูกค้า SMEs อาทิ tima, VAY MUON และ LENDBIZ เป็นต้น ธุรกิจ Blockchian/Cryptocurrency เป็นกลุ่มธุรกิจที่กำลังมาแรงและเติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม อาทิ Tomo Chain และ Kyber Network เป็นต้น โอกาสขยายธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ตลาด Fintech ในเวียดนามที่มีพัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับจะมีบทบาทสำคัญในภาคการเงินรูปแบบใหม่ ซึ่งถือเป็นแรงหนุนในการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามทั้งด้านการบริโภค การค้า และการลงทุน ทั้งนี้ ด้วยศักยภาพดังกล่าวจึงนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปลงทุนและขยายธุรกิจไปเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ Venture Capital ในการเข้าร่วมลงทุนกับ Fintech Startup ในเวียดนาม รวมถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่เป็น Fintech Startup ในการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายตลาดลูกค้าในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจในตลาด Fintech ของเวียดนาม จำเป็นต้องทำความเข้าใจกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน รวมถึงข้อจำกัดและข้อห้ามต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้การเข้าไปลงทุนในเวียดนามดำเนินไปอย่างราบรื่น 15.08.2022 3723 เรื่องต้องรู้ของนักลงทุนไทย … ร่างกฎหมาย Offshore Loan ฉบับใหม่ของเวียดนาม เวียดนามเป็นประเทศดาวเด่นที่บริษัทต่างชาติเข้าไปปักหมุดขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนหลายด้านทั้งตลาดขนาดใหญ่และความพร้อมด้านแรงงาน ไปจนถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจในเวียดนามมีความต้องการเงินทุนสำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งการกู้เงินจากต่างประเทศ (Offshore Loan) ถือเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนของธุรกิจในเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาตลาดการเงินโลกอยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ บริษัทในเวียดนามหลายแห่งจึงหันมาพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งบางส่วนเป็นการนำเงินกู้ไปใช้ลงทุนในภาคธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น รัฐบาลเวียดนามจึงพยายามควบคุมการกู้เงินจากต่างประเทศให้เข้มงวดขึ้น โดยล่าสุดธนาคารกลางเวียดนามได้เผยแพร่ร่างกฎระเบียบฉบับใหม่ว่าด้วยเงื่อนไขการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินกู้จากต่างประเทศที่รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน (Draft circular on conditions for enterprises’ offshore loans without government guarantee) ซึ่งบทความนี้จะขอพาท่านผู้ประกอบการไปทำความรู้จักกับกฎระเบียบของ Offshore Loan ในเวียดนาม และประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายฉบับใหม่ ดังนี้ ความรู้จัก Offshore Loan ... ทางเลือกเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการในเวียดนาม ธนาคารกลางเวียดนามอนุญาตให้ทั้งบริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในเวียดนาม สามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดและต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารกลางเวียดนาม ซึ่งโดยทั่วไปการกู้เงินจากต่างประเทศจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ การลงทะเบียนกับธนาคารกลางเวียดนาม การกู้ระยะสั้น (อายุเงินกู้ต่ำกว่า 1 ปี) ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนกับธนาคารกลางเวียดนาม การกู้เงินระยะกลาง-ยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) และเงินกู้ระยะสั้นที่มีเงื่อนไขการต่ออายุเงินกู้ได้มากกว่า 1 ปี จะต้องลงทะเบียนกับธนาคารกลางเวียดนาม โดยสามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ 1) การลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคารกลางเวียดนาม ซึ่งธนาคารกลางเวียดนามจะใช้เวลาอนุมัติ 12 วัน และ 2) การยื่นเอกสารด้วยตนเอง ซึ่งจะใช้เวลาอนุมัติ 15 วัน การเปิดบัญชีทุนกับธนาคารพาณิชย์ในเวียดนามที่ได้รับอนุญาต โดยการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้จากต่างประเทศทั้งการเบิกจ่ายเงินกู้และชำระคืนเงินกู้ จะต้องทำผ่านบัญชีที่ธนาคารกลางเวียดนามกำหนด โดยการกู้เงินจากต่างประเทศประเภทเงินกู้ระยะกลาง-ยาว จะต้องทำธุรกรรมผ่านบัญชี Direct Investment Capital Account (DICA) ขณะที่เงินกู้ระยะสั้นสามารถทำธุรกรรมผ่านบัญชี DICA และ Offshore Loan Account (OLA) โดยผู้ประกอบการต้องเปิดบัญชีดังกล่าวกับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เงื่อนไขใหม่ในการกู้ Offshore Loan ที่ผู้ประกอบการควรรู้ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ธนาคารกลางเวียดนามได้เผยแพร่ร่างกฎระเบียบฉบับใหม่ว่าด้วยเงื่อนไขการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินกู้จากต่างประเทศที่รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน โดยร่างกฎระเบียบฉบับนี้มีการเพิ่มเงื่อนไขการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านภาระหนี้ต่างประเทศของเวียดนามและสนับสนุนการนำเงินกู้ไปลงทุนในธุรกิจที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้ การกำหนดเพดานต้นทุนการกู้ Offshore Loan ร่างกฎระเบียบใหม่มีการกำหนดเพดานต้นทุนการกู้ Offshore Loan โดยต้นทุนดังกล่าวรวมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ มาคำนวณเป็นอัตราร้อยละต่อปีของเงินต้นทั้งหมด ซึ่งต้องไม่เกินอัตราเพดานที่ธนาคารกลางของเวียดนามกำหนดไว้ ดังนี้ Offshore Loan ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ : กรณีใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate)* ในการทำธุรกรรมเงินกู้ : เพดานต้นทุนการกู้เงิน = อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง + 8% ต่อปี กรณีอื่นๆ ที่ไม่ใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง : เพดานต้นทุนการกู้เงิน = อัตราดอกเบี้ย Secured Overnight Financing Rate (SOFR)** + 8% ต่อปี Offshore Loan ในสกุลเงินด่อง : เพดานต้นทุนการกู้เงิน = อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม + 8% ต่อปี หมายเหตุ : * อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางกำหนดขึ้นสำหรับใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ** อัตราดอกเบี้ย Secured Overnight Financing Rate คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะข้ามคืนโดยมีพันธบัตรรัฐบาลเป็นหลักประกัน การป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ร่างกฎระเบียบฉบับใหม่กำหนดให้ผู้กู้ Offshore Loan ต้องใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging) อาทิ Forward Contract, FX Swap และ FX Options เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินและเพื่อให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ Offshore Loan ระยะสั้นที่มีวงเงินมากกว่าหรือเท่ากับ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้กู้จะต้องดำเนินการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่ต่ำกว่า 30% ของจำนวนเงินที่เบิกจ่ายจริง และต้องดำเนินการปิดความเสี่ยงก่อนหรือภายในวันที่เบิกจ่ายในแต่ละครั้ง Offshore Loan ระยะกลาง-ยาวที่ยอดชำระคืนเงินกู้ (เฉพาะเงินต้น) ในแต่ละงวดมากกว่าหรือเท่ากับ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้กู้จะต้องดำเนินการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่ต่ำกว่า 30% ของยอดชำระคืนเงินกู้งวดนั้นๆ โดยจะต้องดำเนินการปิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 เดือนก่อนวันครบกำหนดชำระเงินในแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้กู้บางกลุ่มอาจได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดดังกล่าว อาทิ ผู้กู้ที่เป็นสถาบันการเงิน (Credit Institution) และสาขาของธนาคารต่างชาติ (Foreign Bank Branches) รวมถึงผู้กู้ที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเพียงพอสำหรับการชำระคืนเงินกู้ ทั้งนี้ ผู้กู้ที่ทำสัญญากู้ยืม Offshore Loan เสร็จสิ้นก่อนวันที่ร่างกฎระเบียบฉบับใหม่นี้มีผลบังคับใช้ จะต้องใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหากยังมีการเบิกจ่ายไม่ครบวงเงินหรือยังชำระคืนเงินกู้ไม่ครบจำนวน ข้อจำกัดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การนำเงินกู้ Offshore Loan ไปใช้ ร่างกฎระเบียบฉบับใหม่มีการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การนำเงินกู้ Offshore Loan บางประเภทไปใช้สำหรับผู้กู้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและสาขาของธนาคารต่างชาติ โดยเงินกู้ระยะสั้นใช้ได้เฉพาะกับการชำระหนี้ระยะสั้นหรือหนี้ที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ทำสัญญากู้ยืม และไม่สามารถนำไปใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ การโอนโครงการ (Project Transfer) และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่เงินกู้ระยะกลาง-ยาว นำไปใช้ได้ใน 3 กรณี คือ สำหรับการลงทุนในโครงการของผู้กู้ สำหรับการเพิ่มทุนเพื่อขยายธุรกิจของผู้กู้ และสำหรับการรีไฟแนนซ์ (Refinance) เงินกู้ต่างประเทศที่ผู้กู้มีอยู่เดิม ผลกระทบต่อการลงทุนในเวียดนาม การบังคับให้มีการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับวงเงินกู้ที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดมีแนวโน้มทำให้ต้นทุนการกู้ยืม Offshore Loan ในเวียดนามปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยทำให้การกู้ Offshore Loan ของเวียดนามมีความรัดกุมและปลอดภัยจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น การกำหนดเพดานต้นทุนเงินกู้ Offshore Loan คาดว่าไม่กระทบการลงทุนของไทยในเวียดนาม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของไทยที่อยู่ในระดับต่ำ (อัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของไทย ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ 24%) ช่วยให้สถาบันการเงินไทยส่วนใหญ่ยังสามารถเสนอเงินกู้ให้กับโครงการลงทุนของไทยได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าระดับเพดานที่เวียดนามกำหนด แม้จะรวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างๆ แล้วก็ตาม ปัจจุบันแม้ร่างกฎระเบียบดังกล่าวจะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยรายละเอียดในขั้นสุดท้ายยังต้องได้รับการอนุมัติเพิ่มเติมจากรัฐบาลเวียดนาม แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการในเวียดนามควรรับทราบและทำความเข้าใจแต่เนิ่นๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือและสามารถบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่อาจเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 07.07.2022 1071 link อื่นๆ more Financial Products more ดู Links ทั้งหมด