ข่าวเศรษฐกิจ

เวียดนามลุยปลูกข้าวคาร์บอนต่ำ ตั้งเป้า 6.5 ล้านไร่-13 ล้านตันในปี 2573

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ ประเทศเวียดนามรายงานว่า รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติโครงการพัฒนาข้าวคุณภาพสูงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ เพื่อเป้าหมายการเติบโตสีเขียวในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี 2567-2568 พื้นที่ 200,000 เฮกตาร์ (1.25 ล้านไร่) และระยะที่ 2 ปี 2569-2573 มุ่งเน้นลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงขีดความสามารถของทั้งระบบ เพื่อขยายข้าวคุณภาพสูงและปล่อยมลพิษต่ำเพิ่มเติมอีก 800,000 เฮกตาร์ (5 ล้านไร่) โดยมีเป้าหมายว่าภายในปี 2573 พื้นที่ 12 จังหวัดบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงจะมีการปลูกข้าวคุณภาพสูง 1 ล้านเฮกตาร์ (6.25 ล้านไร่) ได้ผลผลิตสูงถึงเกือบ 13 ล้านตัน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลกำไรให้แก่เกษตรกร 

อนึ่ง ข้าวคาร์บอนต่ำคือข้าวที่ผลิตและแปรรูปด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ช่วยลดการใช้น้ำในการเพาะปลูก ลดปริมาณก๊าซมีเทนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ไม่เผาฟางข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ เวียดนามมีพื้นที่ปลูกข้าว 47 ล้านไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ยปีละ 42 ล้านตันข้าวเปลือก และรัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าว่าในปี 2030 (ปี 2573) ต้องลดการปล่อยก๊าซฯ จากข้าวให้ได้ 6.5 ล้านตันคาร์บอน ขณะที่ไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในนาข้าวเฉลี่ย 43 ล้านตันคาร์บอน คิดเป็น 9% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังไม่มีเป้าหมายในการลดก๊าซฯ ที่ชัดเจน แม้ที่ผ่านมาไทยมีการส่งเสริมการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ อาทิ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice NAMA) แต่ยังได้รับความสนใจและความร่วมมือน้อยมาก (ประชาชาติธุรกิจ, 6-8 ม.ค. 2568) 

link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview