Hot Issues
ประเด็นสำคัญ
-
สหรัฐฯ กำลังพิจารณา เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจาก EU จำนวน 89 รายการ วงเงิน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มเติมจากรายการที่สหรัฐฯ เคยประกาศไว้ว่าจะเรียกเก็บเมื่อเดือนเมษายน 2562 วงเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการตอบโต้กรณีที่ EU ให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน
-
สินค้า EU ที่สหรัฐฯ พิจารณาเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมส่วนใหญ่อยู่ในหมวดสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ ชีสสด เชอร์รีแห้ง กาแฟ เนื้อหมู ไส้กรอก แฮม วิสกี้
-
สหรัฐฯ เตรียมจัดทำประชาพิจารณ์ในเดือนสิงหาคม 2562 เกี่ยวกับการเพิ่มรายชื่อสินค้า EU ที่จะเรียกเก็บภาษี
สถานการณ์สงครามการค้าที่มีท่าทีว่าจะบรรเทาลง หลังการประชุม G20 ซึ่งสหรัฐฯ และจีนตกลงที่จะเริ่มการเจรจาการค้าระหว่างกันรอบใหม่ และสหรัฐฯ จะไม่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเติมตามที่เคยประกาศไว้ รวมถึงยังผ่อนผันให้บริษัทสหรัฐฯ สามารถทำธุรกิจกับบริษัท Huawei ของจีนได้ แต่สงครามการค้าอาจปะทุขึ้นใหม่กับสหภาพยุโรป (EU) โดยล่าสุดสหรัฐฯ กำลังพิจารณาเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจาก EU เพิ่มอีก 89 รายการ (วงเงิน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มเติมจากรายการที่สหรัฐฯ เคยประกาศไว้ว่าจะเรียกเก็บเมื่อเดือนเมษายน 2562 วงเงิน 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการตอบโต้กรณีที่ EU ให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน โดยเฉพาะต่อบริษัท Airbus ของฝรั่งเศส ทำให้สถานการณ์สงครามการค้ากลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้งและยิ่งเพิ่มความไม่ชัดเจนให้กับสถานการณ์การค้าโลก
ข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ และ EU ในการให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน
ข้อพิพาทในประเด็นดังกล่าวมีมานานเกือบ 15 ปี โดยทั้ง EU และสหรัฐฯ ต่างกล่าวหาซึ่งกันและกันว่าให้เงินอุดหนุนแก่ Airbus (ฝรั่งเศส) และ Boeing (สหรัฐฯ) เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในธุรกิจการบินโลก ทำให้มีการตอบโต้กันไปมาหลายระลอก นับเป็นข้อพิพาทที่ซับซ้อนและยืดเยื้อที่สุดที่เข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยของ WTO ล่าสุดสหรัฐฯ ตอบโต้ EU ด้วยข้อกล่าวหาว่านโยบายอุดหนุน Airbus สร้างความเสียหายให้สหรัฐฯ กว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งเป็นที่มาของการขู่ว่าจะพิจารณาขึ้นภาษีสินค้า EU ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562
สินค้า EU ที่สหรัฐฯ อยู่ระหว่างพิจารณาเรียกเก็บภาษี
-
สินค้าที่ประกาศรอบแรก (เม.ย. 2562) มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อาทิ ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง / นม เนย ชีส / ผลไม้สดและแห้ง / อาหารทะเลแปรรูป / ผักผลไม้แปรรูป เช่น แยม และน้ำผลไม้ / ไวน์ บรั่นดี / น้ำมันหอมระเหย / เครื่องหนังบางประเภท / หนังสือ / เส้นใย ด้าย / ผ้าผืนบางชนิด / เสื้อผ้า / เคหะสิ่งทอ / ผลิตภัณฑ์เซรามิก / เหล็กและผลิตภัณฑ์
-
สินค้าที่ประกาศรอบล่าสุดเพิ่มเติม (ก.ค. 2562) มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อาทิ ชีสสด / พาสต้า / เชอร์รีแห้ง / มะกอก / กาแฟ / เนื้อหมูแปรรูป ไส้กรอก แฮม / วิสกี้ / ท่อเหล็ก
ประเด็นที่ต้องติดตาม
นักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่า กรณีที่สหรัฐฯ ตอบโต้ EU ในประเด็นให้เงินอุดหนุน Airbus ยังต้องรอคำตัดสินชี้ขาดจาก WTO ซึ่งการที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจาก EU ได้หรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับคำตัดสินดังกล่าวเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังคงดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ในเดือนสิงหาคม 2562 ในกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีจาก EU เพิ่มเติม
ผลกระทบหากสหรัฐฯ ตัดสินใจขึ้นภาษีสินค้า EU
ผลกระทบน่าจะอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากสินค้าที่สหรัฐฯ พิจารณาเรียกเก็บภาษีจาก EU ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดสินค้าอาหาร ซึ่งไม่ได้มีลักษณะการผลิตแบบ Supply Chain เหมือนกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
-
ผลกระทบทางลบ : ผู้ประกอบการ EU ในกลุ่มสินค้าที่พิจารณาเรียกเก็บภาษีจะได้รับผลกระทบหากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่กระทบต่อกำลังซื้อของ EU เนื่องจากกลุ่มสินค้าดังกล่าวมีสัดส่วนเพียง 5% ของมูลค่าส่งออกจาก EU ไปสหรัฐฯ
-
ผลกระทบทางบวก : ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่คล้ายคลึงกับ EU อาทิ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ อาจได้ประโยชน์จากการส่งสินค้าไปสหรัฐฯ แทน EU
-
ผลกระทบต่อไทย : อยู่ในวงจำกัด เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ใน Supply Chain การผลิตสินค้าดังกล่าวของ EU รวมทั้งไทยไม่ได้ผลิตสินค้าเกษตรที่คล้ายคลึงกับ EU
ที่เกี่ยวข้อง
-
สรุปสาระสำคัญของ CBAM กับ EUDR และผลกระทบต่อการส่งออกไทย
มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ของ EU ที่เพิ่งเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้เกิดกระแสตื่นตัวเป็นวงกว้าง เพราะกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนสูงหลายชนิด ...
02.10.2023 -
มองผลกระทบหลังรัสเซียเปลี่ยนกลไกการชำระเงินค่าก๊าซธรรมชาติเป็นสกุลเงินรูเบิล
ประเด็นสำคัญ รัสเซียออกกฎหมายให้ประเทศที่ไม่เป็นมิตร โดยเฉพาะ EU ต้องจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากรัสเซียเป็นสกุลเงินรูเบิล โดยบังคับให้ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีพิเศษสำหรับการทำธุรกรรมจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะ ความเคล...
13.04.2022
-
ถอดนโยบายประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อไขผลกระทบต่อการค้า การลงทุนของไทย
ประเด็นสำคัญ นโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลใหม่ มีความชัดเจนขึ้นหลังประธานาธิบดีไบเดนขึ้นดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยในภาพรวมนโยบายสำคัญส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปตามที่หาเสียงไว้ ทิศทางนโยบายด้านการค้ามีความชัดเจนแล้วว่าจะม...
25.01.2021 -
ข้อตกลงการค้า EU-UK หลัง Brexit กับโอกาสการส่งออกของไทย
ประเด็นสำคัญ EU และ UK บรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างกันหลัง Brexit เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทันก่อนกำหนดเส้นตายในวันที่ 31 ธ.ค. 2563 ข้อตกลงฉบับนี้ครอบคลุมประเด็นการค้าและความร่วมมือ อาทิ การค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน...
05.01.2021 -
จับตาผลกระทบทุเรียนไทย ... เมื่อจีนเปิดรับทุเรียนแช่แข็งจากมาเลเซีย
สถานการณ์สำคัญ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 จีนซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยสัดส่วนการนำเข้ารวมกันกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่านำเข้าโลก ยอมเปิดตลาดสินค้า (Trade Liberalization) ให้ท...
16.10.2019