Hot Issues
ประเด็นสำคัญ
- รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อดึงดูด FDI และเตรียมเสนอสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบเฉพาะราย ตลอดจนระบบการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- มาตรการดึงดูด FDI ครั้งใหญ่นี้จะมีส่วนช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ตลอดจนช่วยสร้างโอกาสการเป็นฐานการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญอย่างยานยนต์ไฟฟ้า
- การเร่งเปิดรับการลงทุนของอินโดนีเซียเป็นโอกาสที่ดีของไทยในการขยายธุรกิจในอินโดนีเซีย แต่ก็สร้างความท้าทายจากการแข่งขันในการดึงดูด FDI ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย
รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังเร่งปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจครั้งใหญ่เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) โดยเมื่อปลายปี 2563 อินโดนีเซียได้ผ่านกฎหมาย Omnibus Law ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ครอบคลุมการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างรอบด้าน ทั้งด้านแรงงาน การขอใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจ ระบบภาษีธุรกิจ และสิทธิประโยชน์การลงทุน โดยกฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้อินโดนีเซียสามารถออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคการลงทุนและดึงดูด FDI ให้ได้มากขึ้น ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2564 อินโดนีเซียได้ออกมาตรการสำคัญ ดังนี้
ความคิดเห็นฝ่ายวิจัยธุรกิจ
การเร่งดำเนินมาตรการดึงดูด FDI ครั้งใหญ่จะส่งผลบวกต่อทิศทางการลงทุนและเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ดังนี้
- FDI มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นและจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินโดนีเซียในปี 2564 ให้ขยายตัวได้ใกล้เคียงตามเป้าของรัฐบาลที่ 5% โดยในปี 2563 FDI ของอินโดนีเซียยังขยายตัว 4% แม้เศรษฐกิจจะหดตัว 3.5% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโลหะที่คิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของการลงทุนทั้งหมดในปี 2563 รองลงมา ได้แก่ ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้า นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 FDI ยังส่งสัญญาณบวกต่อเนื่อง โดยขยายตัว 12.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยลดอุปสรรคของการเข้าไปดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซีย เนื่องจากที่ผ่านมาการเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียประสบอุปสรรคจากขั้นตอนการขออนุญาตที่ซับซ้อน อินโดนีเซียจึงมีอันดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจสูงกว่าเพียงกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา เท่านั้น ดังนั้น นโยบายดังกล่าวจึงถูกคาดหมายว่าจะช่วยแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวของอินโดนีเซียในระยะข้างหน้า
- อินโดนีเซียมีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนในธุรกิจเป้าหมายใหม่เพิ่มขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยเครื่องมือด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบเฉพาะรายจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับอินโดนีเซียในการดึงดูดการลงทุนจากบริษัทต่างชาติรายสำคัญของโลก และสามารถผลักดันให้เกิดการกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจใน Supply Chain ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เวียดนามเป็นหนึ่งในตัวอย่างของประเทศที่ใช้เครื่องมือลักษณะดังกล่าวในการดึงดูดบริษัท Samsung และ Apple ให้มาลงทุน ทำให้ปัจจุบันเวียดนามเป็นหนึ่งในฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญของภูมิภาค
ที่เกี่ยวข้อง
-
ประเมินผลกระทบหลังสหรัฐฯ เรียกเก็บ AD ยางล้อจากไทย และแหล่งนำเข้าอื่น
สถานการณ์สำคัญ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping Duty : AD) ขั้นต้นเป็นการชั่วคราวสำหรับยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็ก (Light Truck) จากไทยในอัตรา 13.25-22.21% แ...
29.01.2021 -
ส่องสถานการณ์อินโดนีเซียหลังเลือกตั้งประธานาธิบดี
ประเด็นสำคัญ ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ประธานาธิบดี Joko Widodo หรือ Jokowi มีคะแนนนำอยู่ที่ราว 54-56% ขณะที่คู่แข่ง Prabowo Subianto มีคะแนนเป็นรองที่ 44-46 % เบื้องต้นคาดว่าผลการนับคะแนนดังกล่าวจะไม่พลิกโผ ...
23.04.2019
-
ถอดนโยบายประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อไขผลกระทบต่อการค้า การลงทุนของไทย
ประเด็นสำคัญ นโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลใหม่ มีความชัดเจนขึ้นหลังประธานาธิบดีไบเดนขึ้นดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยในภาพรวมนโยบายสำคัญส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปตามที่หาเสียงไว้ ทิศทางนโยบายด้านการค้ามีความชัดเจนแล้วว่าจะม...
25.01.2021 -
ข้อตกลงการค้า EU-UK หลัง Brexit กับโอกาสการส่งออกของไทย
ประเด็นสำคัญ EU และ UK บรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างกันหลัง Brexit เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทันก่อนกำหนดเส้นตายในวันที่ 31 ธ.ค. 2563 ข้อตกลงฉบับนี้ครอบคลุมประเด็นการค้าและความร่วมมือ อาทิ การค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน...
05.01.2021 -
จับตาผลกระทบทุเรียนไทย ... เมื่อจีนเปิดรับทุเรียนแช่แข็งจากมาเลเซีย
สถานการณ์สำคัญ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 จีนซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยสัดส่วนการนำเข้ารวมกันกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่านำเข้าโลก ยอมเปิดตลาดสินค้า (Trade Liberalization) ให้ท...
16.10.2019