ข่าวเศรษฐกิจ

7 ค่ายจีนตั้งโรงงานประกอบ EV ในไทยปี 2567 คาดอุตฯ ชิ้นส่วนไทยไม่ได้ประโยชน์

ผู้ผลิต EV จีน 7 รายจะตั้งโรงงานประกอบ EV ในไทยในปี 2567 ด้วยเม็ดเงินลงทุนรวมราว 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 1) GMW 2.2 หมื่นล้านบาท กำลังการผลิตปีละ 1 แสนคัน 2) MG 1 หมื่นล้านบาท กำลังการผลิตปีละ 1 แสนคัน 3) NETA 3,500 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละ 2 หมื่นคัน 4) BYD 2 หมื่นล้านบาท กำลังการผลิตปีละ 1.5 แสนคัน 5) GAC AION ระยะแรก 6 พันล้านบาท กำลังการผลิตปีละ 2 หมื่นคัน 6) Changan 8.8 พันล้านบาท กำลังการผลิตระยะแรกปีละ 1 แสนคัน และ 7) Wuling 200 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละ 6,000 คัน  

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของไทยระบุว่ากรณีข้างต้นส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อป้อนให้กับโรงงานประกอบ EV ของจีนในไทย ทั้งการพัฒนาบุคลากรและการลงทุนแม่พิมพ์ใหม่สำหรับ EV ด้านบริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH ชี้ว่าการที่จีนตั้งโรงงานประกอบ EV ในไทยจะส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ในไทยเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 3 ล้านคันภายในปี 2572-2573 จาก 2 ล้านคันในปัจจุบัน  

อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยชี้ว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยจะได้รับประโยชน์ไม่มาก เนื่องจากผู้ผลิตไทยยังขาดเทคโนโลยีการผลิต มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าจีน 30% รวมถึงเสียประโยชน์จากการที่รัฐบาลไทยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อประกอบ EV ในไทย ซึ่งส่งผลให้ผู้ผลิต EV จากจีนไม่จำเป็นต้องใช้ชิ้นส่วน EV ของไทย โดยสมาคมฯ ประเมินว่าจะมีสมาชิกเพียง 5 รายจากทั้งหมด 660 รายเท่านั้นที่จะสามารถส่งชิ้นส่วนยานยนต์ให้ผู้ผลิต EV จีนที่ตั้งฐานประกอบในไทย โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ผลิตระดับ Tier 1 เช่น บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด และ AH (ประชาชาติธุรกิจ 11-14 .. 2567) 

link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview