การเงินธนาคาร

เงินบาทในสถานะ “สินทรัพย์ปลอดภัย”…กับข้อสังเกตในหลายประเด็น

        นับตั้งแต่ต้นปี 2562 หนึ่งในประเด็นร้อนทางเศรษฐกิจที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางคือ “เงินบาทแข็งค่า” โดยล่าสุดเงินบาทในเดือนกรกฎาคม 2562 เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐหรือแข็งค่าขึ้นกว่า 6% เทียบกับในช่วงต้นปี 2561 โดยแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี และแข็งค่าเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สถานการณ์
ที่เกิดขึ้นทำให้เงินบาทถูกพูดถึงในฐานะ “สินทรัพย์ปลอดภัย” (Safe Haven Asset) มากขึ้นเป็นลำดับ ประเด็นดังกล่าวมีข้อสังเกตที่น่าสนใจในแง่มุมต่างๆ ดังนี้

 เงินบาทถูกมองเป็น Safe Haven จริงหรือ?

            เศรษฐกิจโลกในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เร่งตัวขึ้นในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน รวมถึงความไม่แน่นอนของ Brexit และการประท้วงของประชาชน
ในหลายๆ ประเทศจากความไม่พอใจในรัฐบาล อาทิ ฝรั่งเศส สเปน และล่าสุดฮ่องกง ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินในภูมิภาคเอเชีย ขณะเดียวกันประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายแห่งก็ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินอยู่เป็นระลอก อาทิ เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา ตุรกี เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น สะท้อนได้จากราคาของสินค้าเหล่านี้ โดยเฉพาะทองคำและเงินเยนที่ปรับตัวสูง ซึ่งหากพิจารณาค่าเงินบาทในช่วงเวลาเดียวกันก็พบว่าเงินบาทแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกันกับสินทรัพย์ข้างต้น และเคลื่อนไหวสวนทางกับสกุลเงินส่วนใหญ่ของโลกที่อ่อนค่าลง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินบาทกำลังถูกมองเป็นหนึ่งใน Safe Haven ของนักลงทุนในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา

เงินบาท VS เงินเยน…Regional VS Global Safe Haven
            ทั้งนี้ หากพิจารณาเหตุผลที่ทำให้เงินเยนของญี่ปุ่นได้รับการยอมรับว่าเป็น “Global Safe Haven”            แม้ว่าสถานะของเงินบาทที่ถูกกล่าวถึงในฐานะ Safe Haven ยังเกิดขึ้นไม่นาน เมื่อเปรียบเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น Safe Haven จากนักลงทุนทั่วโลกมาหลายทศวรรษ ทั้งนี้ หากพิจารณาย้อนกลับไปในช่วง Hamburger Crisis ในปี 2551 – 2552 และวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป (EU Debt Crisis) ในปี 2554 พบว่าในช่วงที่เกิดวิกฤตดังกล่าว เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นอย่างมาก สวนทางกับเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างรุนแรง เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเงินบาทอาจยังไม่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จนกระทั่งล่าสุดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่
ต้นปี 2561 เงินบาทกลับเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าเช่นเดียวกับเงินเยน ประเด็นดังกล่าวทำให้มีคำถามตามมาว่าเงินบาทจะอยู่ในสถานะ Safe Haven ต่อเนื่องและยาวนานเช่นเดียวกับเงินเยนหรือไม่ จากนักลงทุนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน เนื่องจาก

ญี่ปุ่นมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลติดต่อกันกว่า 3 ทศวรรษ (ปัจจุบันมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกแซงหน้าจีน และเป็นรองแค่เพียงเยอรมนีเท่านั้น) นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีนอีกด้วย

ญี่ปุ่นเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญและเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันญี่ปุ่นถือเป็น
นักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในโลก สะท้อนได้จากมูลค่าสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ (Net International Investment Position : NIIP) ที่ถือโดยนักลงทุนญี่ปุ่นมีมูลค่ามากถึง 3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงที่สุดในโลกมายาวนานกว่า 15 ปี ทำให้ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกเกิดความไม่แน่นอนขึ้น นักลงทุนต่างประเทศที่อาศัยญี่ปุ่นเป็นแหล่งเงินทุนและนักลงทุนญี่ปุ่นเองมีแนวโน้มที่จะปิดความเสี่ยงด้วยการขายสินทรัพย์ต่างประเทศที่ตนเองถืออยู่ (Portfolio Rebalancing) แล้วนำเงินลงทุนกลับมาพักในสินทรัพย์ที่มีเยนเป็นสกุลเงินอ้างอิงก่อน เพื่อรักษามูลค่าของสินทรัพย์ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง

เงินเยนมีสภาพคล่องสูง สะท้อนได้จากปริมาณซื้อขายเงินเยนในตลาดเงินตราระหว่างประเทศที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากดอลลาร์สหรัฐและยูโร ขณะเดียวกันเงินเยนยังถูกใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้ามากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และปอนด์สเตอร์ลิง นอกจากนี้ เงินเยนยังได้รับความน่าเชื่อถือในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ ถือเงินเยนมากเป็นอันดับ 3 และยังเป็นหนึ่งในห้าสกุลเงินที่อยู่ในตะกร้าสิทธิพิเศษถอนเงินทุน (SDRs) ของ IMF ซึ่งแต่ละประเทศทั่วโลกใช้เป็นเงินทุนสำรองในยามฉุกเฉิน

หากพิจารณาย้อนกลับมาที่เงินบาทจะพบว่า เหตุผลที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นในปัจจุบันคือ
การที่ไทยมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง
หนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในองค์ประกอบอื่นจะพบว่า เงินบาทยังมีสภาพคล่องค่อนข้างน้อย โดยปัจจุบันมีการซื้อขายเงินบาทในตลาดเงินตราระหว่างประเทศไม่ถึง 1% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด ขณะเดียวกัน ไทยก็ไม่ได้เป็นแหล่งเงินทุนสำคัญหรือเจ้าหนี้รายใหญ่ของโลก ดังนั้น พอจะกล่าวได้ว่าสถานะของเงินบาทในปัจจุบันอาจเป็นเพียง “Regional Safe Haven” ในระยะสั้นเท่านั้น


เงินบาทไม่ได้เป็น Regional Safe Haven เพียงสกุลเดียว

หากพิจารณาค่าเงินของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
ทั่วโลกพบว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2561 มีสกุลเงินในบางภูมิภาคที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นสวนทางกับสกุลอื่นทั่วโลก และกำลังถูกจับตามองว่าเป็น Regional Safe Haven คล้ายกับเงินบาท ไม่ว่าจะเป็นเงินเปโซของเม็กซิโกที่กลายเป็น Safe Haven ในกลุ่มประเทศอเมริกากลางและลาตินอเมริกา เงินปอนด์ของอียิปต์ที่กลายเป็น Safe Haven ในกลุ่มประเทศแอฟริกา หรือค่าเงิน Hryvnia ของยูเครนที่กลายเป็น Safe Haven ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและ CIS

เงินบาทในสถานะ Safe Haven...ทางออกของผู้ประกอบการไทย

              ปัจจุบันการที่เงินบาทถูกมองในสถานะ Safe Haven จากนักลงทุนบางส่วน และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกว่าเงินหลายสกุล ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งหากในระยะถัดไปโมเมนตัมการแข็งค่ายังเป็นไปในทิศทางดังกล่าวและไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของประเทศ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคตอย่างที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

                 สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะทำได้ในสถานการณ์ดังกล่าวคือ ในระยะสั้นต้องเตรียมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและหลีกเลี่ยงการเก็งกำไรค่าเงินในทุกกรณี ขณะที่ในระยะยาว ผู้ประกอบการไทยต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบของค่าเงิน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและหลีกหนีการแข่งขันด้านราคา รวมถึงการมองหาลู่ทางในการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศเพื่อขยายฐานการผลิตและกระจายห่วงโซ่อุปทานไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกของไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Most Viewed
more icon
  • จับตา “AgriTech” เทคโนโลยีเปลี่ยนโฉมภาคเกษตรโลก

    ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เป็นประเด็นที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอเมื่อโลกเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ราคาธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารหลักมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาทิ การที่ราคาน้ำมันโลกสูงขึ้นมากในปี 2548-2550 ...

    calendar icon19.06.2020
  • VUCA World โลกแห่งความผันผวน ... New Normal ในยุคปัจจุบัน

    ในปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้บ่อยครั้งขึ้น จนถูกเรียกว่าเป็นยุค VUCA World หรือโลกแห่งความผันผวน โดย VUCA ย่อมาจาก Volatility คว...

    calendar icon16.01.2019
  • 5 เทรนด์ธุรกิจหลัง COVID-19

    5 เทรนด์ธุรกิจ หลังวิกฤต COVID-19 โดย นางขวัญใจ เตชเสนสกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา โลกได้ผ่านบททดสอบจากความท้าทายและวิกฤ...

    calendar icon18.05.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview