การเงินธนาคาร

บล็อกเชน … เทคโนโลยีปฏิวัติโลกการค้าระหว่างประเทศ

บล็อกเชน … เทคโนโลยีปฏิวัติโลกการค้าระหว่างประเทศ

 

โดย นางขวัญใจ เตชเสนสกุล  

ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

 

          ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือที่รองรับการจัดการธุรกรรมของ Cryptocurrency โดยเฉพาะ Bitcoin สกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยม บล็อกเชนเปรียบเสมือนระบบที่บันทึกและควบคุมข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมด ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบโครงข่ายแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Network) คือ การแยกเก็บข้อมูลธุรกรรมไว้ในที่ต่างๆ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบเดียวกันจะสามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วแบบไม่ต้องผ่านตัวกลาง บล็อกเชนจึงได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยสูง โปร่งใส สะดวกรวดเร็ว และต้นทุนการทำธุรกรรมค่อนข้างต่ำ จากจุดแข็งดังกล่าวส่งผลให้เทคโนโลยีบล็อกเชนเติบโตอย่างก้าวกระโดด สอดคล้องกับข้อมูลของ International Data Corporation (IDC) ที่คาดการณ์ว่ามูลค่าลงทุนเทคโนโลยีบล็อกเชนในช่วงปี 2560-2565 จะขยายตัวสูงเฉลี่ย 76% ต่อปี

 

          ปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไปมีบทบาทและถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายวงการ ไม่เฉพาะแต่ภาคการเงิน แต่ยังรวมถึงภาคการศึกษา การแพทย์ โลจิสติกส์ อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก พลังงาน และภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินยังเป็นกลุ่มผู้เล่นหลักที่ลงทุนในเทคโนโลยีบล็อกเชนมากที่สุดในโลก เนื่องจากบล็อกเชนช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งช่วยสร้างเม็ดเงินให้แก่ภาคการเงินได้มหาศาล ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าบล็อกเชนไม่เพียงตอบโจทย์การทำธุรกรรมทางการเงินแก่ลูกค้ารายย่อยของสถาบันการเงิน (Retail Banking) เพียงอย่างเดียว แต่ได้ถูกพัฒนาให้เข้ามาปิดช่องว่างการทำธุรกรรมในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ (Corporate Banking) ด้วย โดยเฉพาะธุรกรรมการเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance)

 

 

“ปิดช่องว่างการค้าระหว่างประเทศด้วยบล็อกเชน”

          การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันยังมีช่องว่างอีกมากจากหลายสาเหตุ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ที่ยังมีข้อจำกัด รวมถึงต้นทุนการทำธุรกรรมค่อนข้างสูงทั้งด้านค่าใช้จ่ายและระยะเวลา ประกอบกับกระบวนการส่งออก-นำเข้ามีขั้นตอนยุ่งยากและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายแห่ง ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยปิดช่องว่างและเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ในหลายมิติ เช่น

  •            เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว โดยข้อมูลจาก FINIWISE ประมาณการว่าปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางทะเลในแต่ละครั้งจะต้องใช้เอกสารฉบับจริงเฉลี่ย 36 ฉบับ และฉบับสำเนาอีก 240 ฉบับ ขณะที่เทคโนโลยีบล็อคเชนจะเข้ามาลดขั้นตอนและเอกสารต่างๆ ลง โดยจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์และตัดตัวกลางออกไป ทำให้เหลือเอกสารที่ต้องใช้เพียงไม่กี่ฉบับ ตลอดจนลดขั้นตอนการทำธุรกรรมและกระบวนการชำระเงินค่าสินค้า สอดคล้องกับรายงานของ Bain & Company and HSBC ที่ระบุว่าบล็อกเชนจะช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารจาก 1-2 สัปดาห์เหลือ 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ผู้เกี่ยวข้องในวงจรการค้าระหว่างประเทศยังสามารถตรวจสอบและติดตามธุรกรรมการเงินได้แบบเรียลไทม์

  •           ลดต้นทุนการทำธุรกรรม ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรมออนไลน์บนแพลทฟอร์มบล็อกเชน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสถาบันการเงิน ส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกรรม ทั้งด้านค่าธรรมเนียมและเอกสารต่างๆ ลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ยังมีต้นทุนการโอนเงินระหว่างประเทศค่อนข้างสูง ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่าปัจจุบันต้นทุนการโอนเงินเฉลี่ยทั้งโลกอยู่ที่9% ของมูลค่าเงินโอน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเอเชีย/แปซิฟิกสูงถึง 7.2% ขณะที่คาดว่าบล็อกเชนจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรม Trade Finance ลง 35% (ข้อมูลจาก Bain & Company and HSBC)

  •           มีความปลอดภัยสูง ภายใต้กระบวนการทำงานของบล็อกเชน ซึ่งจะสามารถเข้าถึง ตรวจสอบ และประมวลผลด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา ตลอดจนข้อมูลจะถูกกระจายการจัดเก็บไว้หลายแหล่ง จึงทำให้การปลอมแปลงหรือขโมยข้อมูลทำได้ยาก

  •           ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น เทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมการซื้อ-ขายสินค้าของผู้ประกอบการ และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อ (Information-based Lending) ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น โดยเฉพาะ SMEs ทั้งนี้ จากข้อมูลของ World Economic Forum (WEF) 2018 ระบุว่าผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน (Trade Finance) ในระบบ คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10% ของมูลค่าการค้าโลก) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568

  • สมาชิกของกลุ่มประกอบด้วยองค์กรและสถาบันการเงินชั้นนำกว่า 200 รายทั่วโลก เช่น Citibank, J.P. Morgan, Barclays, HSBC, Deutsche Bank, Mizuho, Daiwa, Ping An Group, Credit Union เป็นต้น ทั้งนี้ R3 ได้พัฒนาแพลทฟอร์มบล็อกเชนของตัวเองที่เรียกว่า Corda สำหรับการจัดการธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง โดย Corda ถูกพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากระบบสามารถกำหนดให้การทำธุรกรรมหรือการรับ-ส่งข้อมูลเจาะจงเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องแทนการกระจายข้อมูลออกสู่สาธารณะแบบบล็อกเชนทั่วไป  ทำให้มั่นใจได้ว่าธุรกรรมจะถูกบันทึกไว้อย่างปลอดภัยและตรวจสอบได้ จนได้รับความไว้วางใจให้เป็นแพลทฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ และถูกนำไปปรับใช้ในธุรกิจธนาคารกันอย่างแพร่หลาย รวมถึงธนาคารพาณิชย์ของไทยที่นำ Corda มาใช้พัฒนาบริการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนต่างๆ ของบริการ L/C ด้วยบล็อกเชน ตั้งแต่การขอเปิด L/C จนถึงผู้ส่งออกได้รับชำระค่าสินค้า ช่วยลดระยะเวลาดำเนินการและการใช้เอกสารลงกว่าครึ่งหนึ่งจาก L/C แบบเดิม ขณะที่บริษัท IBM มีบริการ IBM Blockchain เป็นการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาบริหารจัดการ Trade Finance แบบครบวงจรตั้งแต่จับคู่ธุรกิจ การร่างสัญญาซื้อ-ขาย ไปจนจบกระบวนการชำระค่าสินค้า โดย IBM Blockchain จะช่วยลดขั้นตอนการชำระเงินระหว่างประเทศ รวมถึงแก้ไขอุปสรรคด้านความแตกต่างของสกุลเงินได้ด้วย นอกจากนี้ บริษัท LcLite เปิดตัวบริการ LC Platform Blockchain Solution ที่สามารถเชื่อมโยงผู้ที่อยู่ในวงจรการค้าทั้งหมดโดยตรง เพื่อจัดการธุรกรรม Trade Finance ด้วยสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่บันทึกข้อตกลงสัญญาในระบบดิจิทัลและดำเนินการเองอัตโนมัติ ขณะที่ล่าสุด SWIFT ผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศรายใหญ่ของโลกประกาศเตรียมที่จะเชื่อมเครือข่าย Global Payment Initiative (GPI) ของ SWIFT เข้ากับแพลทฟอร์มบล็อกเชน Corda ของกลุ่ม R3 รองรับการทำธุรกรรม Cross-border Payment ระบบนี้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกรรมสามารถตรวจสอบเส้นทางของเงินได้จนจบกระบวนการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบและพัฒนา Ecosystem ให้รองรับธุรกรรมดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

  •  

               จะเห็นได้ว่าการค้าระหว่างประเทศในยุคดิจิทัลกำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างมาก โดยส่วนหนึ่งมาจากแรงขับเคลื่อนสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีบล็อกเชน ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) รูปแบบการทำธุรกิจระหว่างประเทศ (Business Model Change) รูปแบบการค้าระหว่างประเทศจะเปลี่ยนจาก Business to Business (B2B) เป็น Business to Customer (B2C) มากขึ้น เนื่องจากช่องทางการซื้อ-ขายสินค้าผ่าน E-Marketplace เปิดกว้างและหลากหลายขึ้น ทั้งแพลทฟอร์มของผู้ให้บริการ E-Marketplace สถาบันการเงิน และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ส่งผลให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายสามารถตกลงธุรกิจกันได้โดยตรง อีกทั้งยังขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น

  • 2) รูปแบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (Cross-border Payment Technology Change) โดยการชำระเงินระหว่างประเทศมีแนวโน้มหันมาใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนมากขึ้น เนื่องจากสะดวกรวดเร็ว ต้นทุนต่ำลง รวมถึงสามารถตรวจสอบธุรกรรมและสั่งจ่ายเงินได้โดยตรง และ
    3) สถาบันการเงิน (Financial Institution Change) การทำธุรกรรมทางการเงินแบบไม่ผ่านตัวกลางจะลดบทบาทสถาบันการเงินลง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่สถาบันการเงินจะปรับตัว โดยหันมาใช้ FinTech และบล็อกเชนมากขึ้น รวมถึงร่วมมือกับ Start-up ทางการเงิน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งรายย่อยและกลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้ การพัฒนา FinTech และเทคโนโลยีบล็อกเชนไม่เพียงเข้ามาเติมเต็มช่องว่างบนเวทีการค้าโลก แต่ยังเข้ามาปฏิวัติธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศในรูปแบบเดิมๆ ให้สะดวกและคล่องตัว ตลอดจนช่วยให้วงจรการค้าโลกขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Most Viewed
more icon
  • จับตา “AgriTech” เทคโนโลยีเปลี่ยนโฉมภาคเกษตรโลก

    ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เป็นประเด็นที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอเมื่อโลกเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ราคาธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารหลักมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาทิ การที่ราคาน้ำมันโลกสูงขึ้นมากในปี 2548-2550 ...

    calendar icon19.06.2020
  • VUCA World โลกแห่งความผันผวน ... New Normal ในยุคปัจจุบัน

    ในปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้บ่อยครั้งขึ้น จนถูกเรียกว่าเป็นยุค VUCA World หรือโลกแห่งความผันผวน โดย VUCA ย่อมาจาก Volatility คว...

    calendar icon16.01.2019
  • 5 เทรนด์ธุรกิจหลัง COVID-19

    5 เทรนด์ธุรกิจ หลังวิกฤต COVID-19 โดย นางขวัญใจ เตชเสนสกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา โลกได้ผ่านบททดสอบจากความท้าทายและวิกฤ...

    calendar icon18.05.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview