เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ (Discontinued)

มาตรการลงโทษกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างไร

ในช่วงกว่า 1-2 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมาเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทั่วโลกให้ความสนใจ โดยหนึ่งในมาตรการที่ชาติตะวันตกใช้ในการกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา คือ การใช้มาตรการลงโทษ (Sanctions) กับบุคคลในกองทัพเมียนมาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศหรือลงทุนทำธุรกิจในต่างประเทศ จำเป็นต้องเข้าใจกลไกของมาตรการดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้มีเฉพาะกรณีของเมียนมาเท่านั้นที่ถูกใช้มาตรการลงโทษ ปัจจุบันประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มีการใช้มาตรการลงโทษกับหลายกลุ่มบุคคล/นิติบุคคล/ประเทศ ซึ่งมาตรการดังกล่าวก่อให้เกิดอุปสรรคหลากหลายด้าน เช่น การเงิน โลจิสติกส์ และการประกัน โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

มาตรการลงโทษ (Sanctions) คืออะไร

มาตรการลงโทษเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลของประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศใช้กับบุคคล นิติบุคคล หรือประเทศ ที่มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่เป็นภัยต่อสันติภาพ ความมั่นคง หรือสิทธิมนุษยชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมดังกล่าว โดยตัวอย่างมาตรการลงโทษที่พบเห็นได้บ่อย เช่น การห้ามเดินทางเข้าประเทศ การระงับการออกวีซ่า การควบคุมทรัพย์สิน การจำกัดการเข้าถึงธุรกรรมทางการเงิน การห้ามทำการค้ากับบุคคล/นิติบุคคล/ประเทศที่โดนมาตรการลงโทษ เป็นต้น

ใครเป็นผู้ออกมาตรการลงโทษที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ

ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดมาตรการลงโทษ ได้แก่

  • สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นมหาอำนาจที่เมื่อออกมาตรการลงโทษแล้วจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐและยูโรเป็นสกุลเงินสากลที่ใช้ในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งมีสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างชาติ (Office of Foreign Assets Control : OFAC) เป็นหน่วยงานหลักของสหรัฐฯ ที่ออกมาตรการลงโทษ ทั้งนี้ มาตรการลงโทษที่ออกโดย OFAC มีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก เนื่องจากธุรกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ต้องปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศที่ส่วนใหญ่ค้าขายกันด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐและต้องมีสถาบันการเงินของสหรัฐฯ เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม
  • องค์การสหประชาชาติ (UN) มาตรการลงโทษที่ออกโดย UN ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เนื่องจากประเทศสมาชิก UN ซึ่งมีถึง 193 ประเทศทั่วโลก ควรดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว

ตัวอย่างผลกระทบต่อภาคธุรกิจ (กรณีสหรัฐฯ ออกมาตรการลงโทษกับประเทศ A)

ตัวอย่างกรณีสหรัฐฯ ใช้มาตรการลงโทษขั้นสูงสุดกับประเทศ A จะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ดังนี้

  1. กรณีโดยตรง : กระทบบุคคล/นิติบุคคลในสหรัฐฯ และในประเทศ A : มาตรการลงโทษมีผลบังคับใช้โดยตรงกับบุคคล/นิติบุคคลของสหรัฐฯ ส่งผลให้บุคคล/นิติบุคคลในสหรัฐฯ ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล/นิติบุคคลในประเทศ A ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยมีการทำธุรกิจในสหรัฐฯ ก็จะถูกบังคับใช้มาตรการดังกล่าว เช่นเดียวกับผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจในประเทศ A ก็จะถูกจำกัดการทำการค้ากับสหรัฐฯ ตลอดจนไม่สามารถใช้บริการต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริการจากสถาบันการเงินของสหรัฐฯ
  2. กรณีทางอ้อม : กระทบต่อประเทศอื่นเมื่อทำการค้าระหว่างประเทศ : แม้ไทยจะไม่ได้ใช้มาตรการลงโทษกับประเทศ A โดยตรง แต่การทำการค้าระหว่างไทยกับประเทศ A ก็มักประสบอุปสรรคจากการใช้มาตรการลงโทษของสหรัฐฯ ดังนี้

กรณีมาตรการลงโทษกับเมียนมา … ผลกระทบยังมีจำกัด

กรณีของเมียนมา สหรัฐฯ ไม่ได้ใช้มาตรการลงโทษในระดับประเทศ แต่เป็นการใช้กับบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาและการรัฐประหารเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดและผลกระทบ มีดังนี้

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามาตรการลงโทษสามารถกลายเป็นอุปสรรคทางการค้า ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินไทยจะมีขั้นตอนตรวจสอบรายชื่อบุคคล/นิติบุคคล/ประเทศที่ถูกใช้มาตรการลงโทษ (Sanctions List) ทุกครั้งที่มีธุรกรรมระหว่างประเทศอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเองก็ควรเข้าใจและมีการตรวจสอบคู่ค้าด้วยตนเองเพื่อป้องกันอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำการค้า

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • Q&A ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ลงทุนใน สปป.ลาว

    การหาพื้นที่เพื่อตั้งกิจการนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ใน สปป.ลาว ที่เป็นตลาดบ้านใกล้เรือนเค...

    calendar icon01.04.2019
  • เอกสารสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน สปป.ลาว

    เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ การปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนเป็นเสมือนหน้าด่านที่จะสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาให้ละเอียดและทำความเข...

    calendar icon01.07.2019
  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่ของ สปป.ลาว

    ในช่วงที่ผ่านมา สปป.ลาว ทยอยปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับให้สอดรับกับบริบททางสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหนึ่งในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว ที่มีการปรับปรุงและเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 กุม...

    calendar icon31.03.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview