ข่าวเศรษฐกิจ

ชงควบคุมการใช้แร่ใยหิน

ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการดังกล่าวในวันที่ 12 เมษายน 2554 มาตรการดังกล่าวนำเสนอโดยภาคประชาชน 182 เครือข่าย กระทรวงสาธารณสุข และนักวิชาการ เพื่อขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศควบคุมแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อย่างเร่งด่วนในปี 2554 ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถผลิต นำเข้า และส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง โดยให้หน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจปรับตัวอีก 2 ปี ทั้งนี้ แร่ใยหินดังกล่าวถูกใช้ผลิตวัสดุก่อสร้าง อาทิ กระเบื้องมุงหลังคา ฝ้า ผนัง พื้นห้องน้ำ และท่อประปา เนื่องจากมีราคาถูกและคงทน อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลวิชาการยืนยันว่าหากแร่ใยหินดังกล่าวแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดและโรคทางเดินหายใจ ซึ่งจะปรากฏอาการใน 20-30 ปีถัดมา ปัจจุบันผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง อาทิ กลุ่มเอสซีจี และกลุ่มสหพันธ์ ได้เปลี่ยนมาใช้เยื่อกระดาษแทนแร่ใยหินแล้ว เหลือเพียง 2 บริษัท ที่ยังใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด และบริษัท กระเบื้องหลังคาตราเพชร จำกัด (มหาชน) (กรุงเทพธุรกิจ, 12 เม.ย. 2554)
Related
more icon
  • 10 สมาคมเหล็กยื่นข้อเสนอคุมนำเข้า-ฟื้นกำลังการผลิต

    ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กไทย 10 สมาคมได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยื่นข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเหล็กอย่างยั่งยืน อาทิ ห้ามส่งออกเศษเหล็ก หรือเก็บภาษีส่งออกเศษเหล็ก (Export Tax) เพื่อสงวนเศษเหล็กไว้เป็...

    calendar icon25.12.2023
  • กลุ่มเหล็กเผยเหล็กจีนทุบตลาด อัตราการผลิตต่ำสุดในรอบ 10 ปี

    กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด ประกาศเลิกจ้างหยุดกิจการ หลังขาดทุนสะสมกว่า 2,500 ล้านบาท ว่าเป็นกรณีผลกระทบจากการทะลักของเหล็กจีนเข้ามาในไทย ซึ่งเ...

    calendar icon28.11.2023
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี

    สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...

    calendar icon27.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview