ข่าวเศรษฐกิจ
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยเห็นว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งจะมีการพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ควรอยู่ที่ไม่เกิน 2% ซึ่งเป็นระดับที่อุตสาหกรรมยอมรับได้ หรือราว 6-7 บาท จากวันละ 320 บาทในปัจจุบัน เพิ่มเป็นวันละ 326-327 บาท ทั้งนี้ การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีต้นทุนค่าจ้างแรงงานคิดเป็นสัดส่วนราว 50% ของต้นทุนการผลิตรวม ดังนั้น หากปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน 2% จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิต 1% และสามารถปรับขึ้นราคาจำหน่ายเสื้อได้เพียง 0.5% จึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากนัก ทั้งนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีการใช้แรงงานรวมกัน 3 แสนคน เป็นแรงงานต่างด้าว 40% และคนไทย 60% อย่างไรก็ตาม การที่มีสัญญาณว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน ประกอบกับไทยมีแรงงานเย็บผ้าที่มีอายุมากจนต้องออกจากงานถึงปีละ 5,000-10,000 คน และไม่สามารถหาแรงงานมาทดแทนได้ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนปรับตัวด้วยการหันไปใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่โรงงานเครื่องนุ่งห่มราว 50 โรง ขยายฐานการผลิตไปในกลุ่ม CLMV เพื่อผลิตและส่งออก (ประชาชาติธุรกิจ, 18-20 พ.ย. 2562)
-
ครม.รับทราบมติบอร์ดค่าจ้าง ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 337-400 บาท เริ่ม 1 ม.ค. 2568
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบข้อเสนอที่กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567 ที่ได้ประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มวันละ 7-55 บาท จากเดิมวันละ 330-370 บาท เป็นว...
24.12.2024
-
หอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนบนไม่เห็นด้วยขึ้นค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศ
จากกรณีที่รัฐบาลกำหนดให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเป็นวันละ 400 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 โดยใช้เกณฑ์สถานประกอบการที่มีการจ้างแรงงานไม่น้อยกว่า 200 คนขึ้นไปนั้น หอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ...
16.09.2024
-
ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี
สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...
27.01.2021
-
เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ
แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...
08.01.2021
-
เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...
08.01.2018