ข่าวเศรษฐกิจ

ผู้ผลิตเหล็กร้องรัฐหลังถูกสินค้านำเข้าแย่งส่วนแบ่งตลาด

สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย 7 สมาคม ซึ่งมีสมาชิก 472 บริษัท ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อรายงานความคืบหน้าสถานการณ์เหล็กในปัจจุบันว่า ปัญหาหลักเกิดจากสินค้าในประเทศถูกสินค้านำเข้าแย่งส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของผู้ผลิตเหล็กในไทยต่ำ ผลิตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สังเกตจากปี 2561 ที่ไทยมีปริมาณการใช้เหล็ก 19.3 ล้านตัน แต่เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศเพียง 7.3 ล้านตัน และมีกำลังการผลิตเพียง 33% ผู้ประกอบการ 7 สมาคมจึงขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนการใช้สินค้าภายในประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่าได้สนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็ก โดยการประกาศใช้มาตรฐานบังคับกับผลิตภัณฑ์เหล็กแล้ว 20 มาตรฐาน มาตรฐานที่อยู่ในขั้นตอนการประกาศบังคับใช้ 7 มาตรฐาน และมาตรฐานที่อยู่ระหว่างการแก้ไขและกำหนดใหม่เพื่อบังคับใช้กับผลิตภัณฑ์เหล็กที่ด้อยคุณภาพจากต่างประเทศอีก 16 มาตรฐาน (แนวหน้าและ www.thairath.co.th, 22 พ.ย. 2562)

Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี

    สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...

    calendar icon27.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview