ข่าวเศรษฐกิจ

ส.อ.ท. เผย COVID-19 ทำห่วงโซ่การผลิตโลกสั้นลง-กระแสย้ายฐานออกจากจีนแรง

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ภาคการผลิตมีแนวโน้มนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติ มาใช้มากขึ้น ขณะเดียวกันห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) จะเปลี่ยนแปลงไป หลายบริษัทอาจลดความยาวของ Supply Chain ลงจากเดิมที่ผลิตชิ้นส่วนในหลายประเทศ เป็นการขมวดฐานการผลิตในหลายประเทศเข้ามาอยู่ในประเทศเดียว และเน้นรายได้จากการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันให้เกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่ง Supply Chain จากจีน หลังจากก่อนหน้านี้มีบริษัทต่างชาติย้ายฐานออกจากจีนเพื่อลดผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมาระลอกหนึ่งแล้ว โดยรูปแบบการย้ายฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกออกจากจีนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การย้ายกลับไปประเทศแม่ เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ในกลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง และการย้ายเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นที่มีฐานการลงทุนอยู่แล้ว เช่น อาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามและไทย (กรุงเทพธุรกิจ, 11 พ.ค. 2563)

Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี

    สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...

    calendar icon27.01.2021
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview