ข่าวเศรษฐกิจ
จากกรณีที่ภาครัฐจะมีมาตรการแก้ไขปัญหาราคาเหล็กในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ใช้เหล็กนั้น สมาคมอุตสาหกรรมเหล็กไทยเตรียมยื่นหนังสือชี้แจงต่อภาครัฐว่าราคาเหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นการปรับตามต้นทุนสินแร่เหล็กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งแสดงความไม่เห็นด้วยที่ภาครัฐอาจนำเข้าเหล็กเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันไทยมีกำลังการผลิตเหล็กเส้นก่อสร้างปีละ 11 ล้านตัน แต่ความต้องการใช้ในประเทศมีเพียงปีละ 4 ล้านตันเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำเข้า เช่นเดียวกับสมาคมการค้าเหล็กลวดไทยที่ระบุว่า ราคาเหล็กในไทยที่สูงขึ้นมาจากต้นทุนเศษเหล็กและแร่เหล็กในตลาดโลกที่มีราคาสูงสุดในรอบ 4-5 ปี และมีสัดส่วนสูงถึง 60-70% ของต้นทุนรวม ส่วนที่เหลืออีก 30-40% เป็นต้นทุนพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการลดผลกระทบของผู้ประกอบการที่ต้องใช้เหล็กราคาสูง ก็ควรช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะต้นทุนค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญ รวมทั้งออกมาตรการส่งเสริมให้มีเศษเหล็กในประเทศเพิ่มขึ้น เช่น มาตรการกำหนดอายุรถยนต์เก่า โดยการเก็บภาษีสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 10 ปี (www.infoquest.co.th, 28 เม.ย. 2564 และกรุงเทพธุรกิจ, 29 เม.ย. 2564)
-
ส.อ.ท. จี้รัฐหั่น Adder ลดค่าไฟฟ้า TDRI ชี้รื้อโครงสร้างแก้ที่ต้นเหต
ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2568 คงเดิมที่หน่วยละ 36.72 สตางค์ ซึ่งทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยยังคงเดิมที่หน่วยละ 4.15 บาทนั้น สภา...
31.03.2025
-
เอกชนผวาเหล็กจีนไหลบ่าเข้าไทยรอบใหม่
จากกรณีที่สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากทุกประเทศเป็น 25% นั้น กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มองว่าในระยะสั้นจะกระทบกับการส่งออกเหล็กของไทยไม่มากนัก เนื่องจากในแต่ละปีไทยส่งออกเห...
11.02.2025
-
ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี
สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...
27.01.2021
-
เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ
แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...
08.01.2021
-
เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...
08.01.2018