ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) กำหนดว่าในปี 2573 ต้องมีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy : RE) มากกว่า 30% และตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไปจะต้องใช้พลังงานหมุนเวียนมากกว่า 50% โดยมุ่งเน้นที่พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม อย่างไรก็ตาม ปัญหา (Pain Point) ของพลังงานหมุนเวียนคือไม่มีเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้า เพราะไม่สามารถผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมงเช่นพลังงานฟอสซิล จึงต้องหาทางสำรองไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) หรือระบบสายส่งกักเก็บพลังงาน (Grid Storage) ซึ่งล่าสุดพบว่าพลังงานไฮโดรเจนจะเป็นความหวังใหม่ในการสร้างเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าของไทย โดยจะเริ่มจากไฮโดรเจนสีฟ้า (Blue Hydrogen) ด้วยการใช้กระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolyzer) จากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเพื่อให้ได้ไฮโดรเจน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี 2574 ก่อนจะพัฒนาสู่ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมในอนาคต
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพที่ภาครัฐจะผลักดันการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในปี 2573 มี 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มโรงไฟฟ้าที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงผสมก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า 2) โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เชื้อเพลิงความร้อน อาทิ น้ำมันเตา และ 3) ภาคขนส่งอย่างกลุ่มรถขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุก ทั้งนี้ สนพ. กำหนดปริมาณการใช้ไฮโดรเจนสูงสุดในกลุ่มโรงไฟฟ้าตามแผน PDP ฉบับล่าสุดไม่เกิน 20% ภายในปี 2580 เนื่องจากเป็นปริมาณที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานเดิม เช่น ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และยังช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม การใช้ไฮโดรเจนยังมีข้อกังวลเรื่องต้นทุน เพราะจากการศึกษาพบว่าต้นทุนไฮโดรเจนที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ ควรมีราคาไม่เกิน กก.ละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันไฮโดรเจนสีเขียวที่มีต้นทุน กก.ละ 5-10 ดอลลาร์สหรัฐ และไฮโดรเจนสีฟ้า กก.ละ 3-5 ดอลลาร์สหรัฐ (ประชาชาติธุรกิจ, 6-9 ก.ค. 2566)
-
กกพ.เคาะค่าไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2568 ลดเหลือหน่วยละ 4.15 บาท
ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่า Ft และมีมติเห็นชอบค่า Ft สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2568 ที่หน่วยละ 36.72 สตางค์ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย...
28.11.2024 -
กฟผ. ทุ่ม 9 หมื่นล้านบาท ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อยู่ระหว่างศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับตามร่างแผน PDP 2024 จำนวน 3 โครงการ กำลังผลิตรวม 2,472 เมกะวัตต์ (MW) มูลค่าลงทุนรวม 90,000 ล้านบาท ได้แก่ 1...
08.11.2024
-
ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี
สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...
27.01.2021 -
เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ
แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...
08.01.2021 -
เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...
08.01.2018