ข่าวเศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปัจจุบันมีโรงงานหลายแห่งทยอยปิดกิจการ เช่น บริษัท โรงงานผลิตเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด ได้ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน มีผลตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. 2566 เนื่องจากบริษัทฯ ขาดทุนสะสมมาต่อเนื่องเกือบ 4,000 ล้านบาท เพราะไม่สามารถแข่งขันกับเหล็กจากผู้ผลิตจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย ซึ่งมีต้นทุนและราคาจำหน่ายถูกกว่า แม้ว่าที่ผ่านมาโรงเหล็กกรุงเทพฯ ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแล้วหลายแนวทาง แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการขาดทุนได้ จึงนำมาสู่การปิดกิจการดังกล่าว บริษัท คิตากาว่า (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ โรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่เปิดดำเนินกิจการมาเกือบ 30 ปี ได้ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้าง เช่นเดียวกับบริษัท ทีเอ็มที โมลด์ เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นเครือข่ายซัพพลายเออร์ของซัมซุงและมีโรงงานอยู่ที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ที่ประกาศปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2566 เป็นต้นไป โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถหาคำสั่งซื้อมาผลิตในแต่ละเดือนได้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ซัมซุงได้ย้ายฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเวียดนาม และคาดว่าจากนี้ไปจะมีซัพพลายเออร์ของบริษัทใหญ่อีกจำนวนหนึ่งที่จะทยอยปิดกิจการเป็นระยะ ประกอบกับปัจจุบัน SMEs ญี่ปุ่นที่เคยเข้ามาลงทุนในไทยตามบริษัทใหญ่ๆ จากญี่ปุ่น ก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย หลายบริษัทที่ไม่มีผู้สืบทอดกิจการก็อาจเลิกกิจการ อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันก็เริ่มมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาลงทุนในบางอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยสถานการณ์แรงงานไตรมาส 3/2566 ว่าสาขาการผลิตเพื่อส่งออกหลายสาขามีแนวโน้มจ้างงานลดลง ชั่วโมงการทำงานลดลงเล็กน้อยเหลือสัปดาห์ละ 42.4 ชั่วโมง จากจำนวนผู้ทำงานล่วงเวลาที่ลดลง 2.0% ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น 24.9% นอกจากนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน ยังให้ข้อมูลว่าปัจจุบันมีสถานประกอบการในระบบของ กสร. ราว 490,000 แห่ง โดยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 จนถึง 27 พ.ย. 2566 มีสถานประกอบการที่ใช้มาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อประกาศหยุดงานด้วยเหตุจําเป็นเป็นการชั่วคราว (หยุดทั้งบริษัท หรือหยุดเพียงบางแผนก) เช่น ประสบปัญหาด้านคำสั่งซื้อลดลง ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อจำนวนมากกะทันหัน รวมราว 700 แห่ง ซึ่งในจำนวนดังกล่าวพบว่าภายหลังมีการเลิกจ้างถาวร (ปิดกิจการ) 14% หรือ 103 แห่ง โดยในจำนวนนี้มีสถานประกอบ 63 แห่ง ที่มีลูกจ้างมากกว่า 100 คน แต่โดยรวมแล้วยังน้อยกว่าช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนักในปี 2563-2564 หลายเท่าตัว (www.prachachat.net, 29 พ.ย. 2566)
-
ไทยจ่อเสียตำแหน่งตลาดรถยนต์อันดับ 3 ในอาเซียน
Nikkei Asia รายงานว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในไตรมาส 3/2567 ของไทยปรับลดลงถึง 28% (y-o-y) จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงจนส่งผลกระทบถึงสินเชื่อรถยนต์ในประเทศ ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ของไทยลดลงมากที่สุดในกลุ่ม 5 ประเทศผู้ผลิตรถยนต์ในอ...
19.11.2024 -
EU ลงมติขึ้นภาษี EV จีนเป็น 45% เริ่มปลายเดือน ต.ค. 2567
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2567 สมาชิก 10 ชาติของ EU อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี และโปแลนด์ ได้ลงมติสนับสนุนการเรียกเก็บภาษีศุลกากร EV ที่ผลิตในจีนเพิ่มอีก 35.3% จากอัตราปัจจุบันที่ 10% ขณะที่ 5 ประเทศซึ่งนำโดยเยอรมนีและฮังการีคัดค้าน ...
07.10.2024
-
ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี
สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...
27.01.2021 -
เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ
แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...
08.01.2021 -
เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...
08.01.2018