บทความพิเศษจากกรรมการผู้จัดการ

Green Tourism : The Time to Transform is Now.

“Work hard, Travel harder.” ในช่วงปลายปีที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน หลายท่านคงเริ่มวางแผนเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชาร์จพลังกันแล้ว เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยว เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยในช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 การท่องเที่ยวไทยเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวสูง สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวไทยเพิ่มจาก 14 ล้านคน ในปี 2552 เป็นเกือบ 40 ล้านคน ในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นราว 3 เท่าตัว และจำนวนคนไทยเที่ยวในประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 86 ล้านคน-ครั้ง เป็น 167 ล้านคน-ครั้งในช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับปัจจุบันข้อมูลดัชนีการพัฒนาด้านการเดินทางและท่องเที่ยว (Travel & Tourism Development Index 2021 หรือ TTDI 2021) ซึ่งวัดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแต่ละประเทศ ระบุว่าการท่องเที่ยวไทยอยู่ที่อันดับ 36 จาก 117 ประเทศทั่วโลก และอันดับ 3 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ดังนั้น การท่องเที่ยวจึงน่าจะยังเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจไทยแต่ไทยอาจต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าที่การท่องเที่ยวไทยจะกลับมาสร้าง GDP สูงถึง 18% ของประเทศอีกครั้ง เพราะการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวครั้งนี้อาจไม่เหมือนเดิม

The Time to Transform is Now.

การรักษาศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวของไทยท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่บัดนี้ เพื่อให้การท่องเที่ยวไทยไม่ใช่เครื่องยนต์เก่าที่ตกรุ่น แต่เป็นเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะในการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป เนื่องจาก

  • คู่แข่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูมิภาคมีพลังดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวเฉลี่ยในปี 2558-2562 สูงกว่าไทย และยิ่งประเทศที่มีสัดส่วนรายได้จากภาคท่องเที่ยวต่อ GDP ประเทศค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับไทย อาทิ เวียดนาม และกัมพูชา ยิ่งมีแรงจูงใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้แข็งแกร่งขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลจากรายงาน The Travel & Tourism Competitiveness Report แสดงให้เห็นว่าอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยปรับขึ้นต่อเนื่องในปี 2558-2562 แต่ในปี 2564 คู่แข่งอย่างอินโดนีเซียก้าวกระโดดจากอันดับ 50 ในปี 2558 ขึ้นเป็นอันดับ 32 ในปี 2564 แซงหน้าไทยขึ้นไปแล้ว และเวียดนามก็สามารถเลื่อนอันดับขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากอันดับที่ 60 ในปี 2562 เป็นอันดับ 52 ในปี 2564  โดยล่าสุด Agoda แพลตฟอร์มผู้ให้บริการจองห้องพักทางออนไลน์ ให้ข้อมูลว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวเวียดนามเติบโตก้าวกระโดด และมีโอกาสเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย โดยในปัจจุบันเวียดนามเป็นหมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้
  • ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยมีอันดับลดลง
    สิ่งสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวของประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา คือ ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และราคาที่แข่งขันได้ โดยพิจารณาทั้งจากราคาที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ในประเทศ อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวของไทยเริ่มอ่อนแรงลง โดยมิติทรัพยากรธรรมชาติลดลงจากอันดับ 7 ของโลกในปี 2560 เหลืออันดับ 10 ในปี 2562 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลง ประกอบกับอีกหลายประเทศทำตลาดท่องเที่ยวโดยประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักและเปิดให้เข้าถึงมากขึ้น และมิติการแข่งขันด้านราคาลดลงจากอันดับ 18 เหลืออันดับ 25
  • ทิศทางของสังคมโลกกำลังตอกย้ำจุดอ่อนของการท่องเที่ยวไทย เนื่องจากการท่องเที่ยวไทยมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 30 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ 7% ของภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ รวมถึงมีส่วนในการสร้างขยะ 3% ของการสร้างขยะรวมในประเทศ และใช้พลังงานและน้ำจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่สนใจลงทุนปรับธุรกิจให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะกิจกรรมดังกล่าวมักทำให้ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ปัจจัยความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) เป็นปัจจัยที่ติด 1 ใน 2 อันดับต่ำที่สุดในบรรดาปัจจัยทั้งหมดของไทยมากว่า 10 ปี ซึ่งล่าสุดในปี 2564 คะแนนด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนของไทยอยู่ในอันดับที่ 97 จาก 117 ประเทศ อีกทั้งยังมีคะแนนต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียนสถานการณ์การดูแลสิ่งแวดล้อมของไทย จึงเหมือนสวนทางกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ทั้งที่เป็นการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนและเชิงธุรกิจที่เริ่มเปลี่ยนมาให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากจุดอ่อนนี้ของการท่องเที่ยวไทยยังไม่ได้รับการแก้ไขย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมซึ่งนับวันจะยิ่งมีจำนวนมากขึ้น

Green Tourism ... เสริมจุดแข็ง-แก้จุดอ่อนได้ในคราวเดียวกัน 

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะกลายเป็นเครื่องยนต์ตกรุ่น และกระแสเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบการท่องเที่ยวแบบรักษ์โลกกลายเป็นมาตรฐานการทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในระยะต่อไป การ Transform อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยไปสู่ Green Tourism จึงน่าจะเป็นแนวทางในการตอบโจทย์การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย เพราะไม่เพียงแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญของไทย ยังช่วยเสริมจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติของไทยให้แข็งแกร่งขึ้นไปพร้อมกัน ประกอบกับการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่มีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังเกี่ยวข้องกับ SMEs ชุมชน และแรงงานจำนวนมาก การที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวตื่นตัวในการปรับสู่ Green ย่อมจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง และมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission ภายในปี พ.ศ. 2608

ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งรวมถึงที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก  และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสามารถเริ่มปรับตัวสู่ Green Tourism ได้ทันที ด้วยเริ่มจากวิธีง่ายๆ อาทิ ปรับใช้พลังงานสะอาด เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์ เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟเป็นแบบ LED เพื่อช่วยประหยัดการใช้พลังงาน เปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งของใช้ในห้องพักเป็นวัสดุรีไซเคิล ลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพิ่มการใช้วัตถุดิบ Plant-based ในเมนูอาหาร ใช้วัตถุดิบจากชุมชนรอบตัวเพิ่มขึ้น จ้างพนักงานที่เป็นคนในชุมชนใกล้เคียงเพื่อสนับสนุนให้เกิดการกระจายรายได้ในท้องถิ่น ตลอดจนการจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเดินหรือปั่นจักรยานไปสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ไกลแทนการใช้รถยนต์

นอกจากนี้ การที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย Transform สู่ Green Tourism ยังมีส่วนช่วยเปิดพื้นที่ให้ SMEs ไทยก้าวสู่เวทีการค้าโลกได้อีกด้วย โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวไทยเป็น Sandbox หรือห้องทดลองพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเทรนด์สินค้าที่มีโอกาสโตอีกมาก โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาไทยภายใต้ Green Tourism จะเป็นผู้ทดลองชิม-ทดลองใช้และให้ผลตอบรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ตรงกับรสนิยมของตลาดผู้บริโภคได้มากขึ้น และใช้พื้นที่นี้เป็น Showroom หรือห้องโชว์สินค้า เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักผลิตภัณฑ์มากขึ้น เช่น ยาสระผม Organic ที่ใช้อยู่ในโรงแรม เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ทำจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุรีไซเคิลที่ใช้อยู่ในที่พัก และเสื้อจากเส้นใย Organic และผลิตโดยคนในชุมชนซึ่งวางจำหน่ายในร้านของฝาก ดังเช่นสินค้าหลายประเภทของไทยที่ประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยเริ่มต้นจากการเป็นของฝากยอดนิยมมาแล้ว

สำหรับ EXIM BANK เราพร้อมที่จะเป็น Springboard ให้กับผู้ประกอบการในการ Transform สู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการออกนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ อาทิ สินเชื่อ EXIM Green Start, EXIM Solar Orchestra และ EXIM D-Carbon Financing และท้ายนี้สำหรับผู้ที่ยังลังเลจะเริ่มต้นธุรกิจ หรือปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ ขอให้นึกถึงคำกล่าวของZig Ziglar นักเขียนชื่อดังชาวสหรัฐฯ ว่า  “You don’t have to be great to start, but you have to start to be great.” - คุณไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่เมื่อเริ่มต้น แต่ต้องเริ่มต้นเพื่อให้ตัวเองยิ่งใหญ่ได้แล้

 

 

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • ตลาดแอฟริกา : แหล่งลงทุนที่ทำกำไรดีอย่างคาดไม่ถึง

    ท่านผู้อ่านครับ ในปีที่ผ่านมาผมได้เล่าถึงโอกาสการค้าการลงทุนในทวีปแอฟริกาไปแล้วหลายครั้ง ว่าเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ ทั้งในแง่ทรัพยากรธรรมชาติ ขนาดตลาด สัดส่วนประชากรในวัยแรงงาน การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาวะเศรษฐกิจ และ...

    calendar icon22.01.2019
  • จับสัญญาณความเสี่ยงธุรกิจจาก 3 ปัญหาคอขวดโลก

    หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ปัญหาคอขวด (Bottlenecks) อย่างการที่ต้องรอคิวช่องตรวจหนังสือเดินทางเป็นเวลานานที่สนามบิน โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาวที่ความต้องการใช้บริการหนาแน่นแต่ช่องการให้บริการมีจำกัด ซึ่งปัญหาคอขวดโลกก็มีสาเหตุ...

    calendar icon29.03.2024
  • อยาก Growth แบบไม่สะดุด ... ต้องมาให้สุดที่ Green Growth

    สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่ง EXIM BANK ก่อตั้งมาครบ 30 ปีพอดีครับ สำหรับการเริ่มต้นเข้าสู่วัยเลข 3 นี้ ผมขอย้ำว่า EXIM BANK พร้อมแล้วครับที่จะเดินหน้าสู่บทบาทใหม่ในการเป็น Green Develo...

    calendar icon29.02.2024
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview