เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่ของ สปป.ลาว

ในช่วงที่ผ่านมา สปป.ลาว ทยอยปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับให้สอดรับกับบริบททางสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหนึ่งในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว ที่มีการปรับปรุงและเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 (แทนกฎหมายฉบับเดิมที่บังคับใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2559) คือ กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่ (New Income Tax Law No.67/NA) ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติที่มีรายได้ใน สปป.ลาว ผู้ประกอบการที่กำลังจะเข้าไปลงทุนทำธุรกิจใน สปป.ลาว จึงควรทำความเข้าใจกฎหมายดังกล่าวซึ่งมีการปรับเปลี่ยนทั้งอัตราภาษีและข้อกำหนดต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

ทั้งนี้ กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่กำหนดให้บริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติต้องแบ่งชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีออกเป็น 2 รอบ รอบแรกภายในวันที่ 20 กรกฎาคม และรอบที่สองภายในวันที่ 20 มกราคม ของปีถัดไป สำหรับกรณีที่บริษัทประสบภาวะขาดทุนสามารถนำผลขาดทุนสุทธิไปหักออกจากผลประกอบการในปีถัดไปได้ แต่ไม่เกิน 5 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ บริษัทสามารถยื่นขอรับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรัฐบาล สปป.ลาว ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) หากเป็นการดำเนินธุรกิจประเภทเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรแปรรูป การศึกษา การกีฬา และโรงพยาบาล โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะแตกต่างกันตามเขตพื้นที่การลงทุน ดังนี้

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก                                                                  
    หรือที่เรียกว่าภาษีเหมาจ่ายในกฎหมายภาษีฉบับเดิม เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดเล็ก (Micro Enterprise) ที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 50 ล้านกีบขึ้นไป แต่ไม่เกิน 400 ล้านกีบ (ราว8 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.4 ล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 283.5 กีบต่อบาท) โดยจะเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านกีบ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว

        

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลทั่วไปชาวลาวและชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานใน สปป.ลาว เกิน 183 วันต่อปี โดยกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่มีการแบ่งฐานรายได้ของผู้เสียภาษีเงินได้ใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า 1,300,000 กีบต่อเดือน ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขณะที่ผู้มีรายได้มากกว่า 1,300,000 กีบต่อเดือน
ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า 5-25% ซึ่งกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่กำหนดให้
ผู้มีรายได้ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป จากเดิมที่ต้องชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้มีรายได้ส่วนหนึ่งเสียภาษีลดลง อาทิ ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 40 - 65 ล้านกีบ จะเสียภาษีในอัตราใหม่ที่ 20% ลดลงจากอัตราเดิมที่ 24%

กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่โดยภาพรวมมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่ลดลงทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะช่วยเอื้อต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนใน สปป.ลาว มากขึ้น นอกจากนี้ กฎหมายฉบับใหม่ยังมีรายละเอียดในทางปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร อาทิ การปรับลดงวดชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีเหลือเพียง 2 รอบจากเดิม 4 รอบ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เข้าไปลงทุนทำธุรกิจใน สปป.ลาว จึงควรให้ความสำคัญและใช้เวลาทำความเข้าใจ เพื่อจะได้วางแผนจัดการด้านภาษีอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อป้องกันข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงยุติธรรม สปป.ลาว [Link] ทั้งนี้ กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่มีการเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน อาทิ การแจ้งและชำระภาษีล่าช้ามีโทษปรับ 500,000 กีบ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คิดเฉพาะค่าธรรมเนียมการจ่ายล่าช้าในอัตรา 0.1% ของมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายเป็นรายวัน

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Most Viewed
more icon
  • Q&A ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ลงทุนใน สปป.ลาว

    การหาพื้นที่เพื่อตั้งกิจการนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ใน สปป.ลาว ที่เป็นตลาดบ้านใกล้เรือนเค...

    calendar icon01.04.2019
  • เอกสารสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน สปป.ลาว

    เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ การปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนเป็นเสมือนหน้าด่านที่จะสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาให้ละเอียดและทำความเข...

    calendar icon01.07.2019
  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างแรงงานในเวียดนาม

    ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) คือ การเป็นประเทศที่มีตลาดแรงงานขนาดใหญ่ ทำให้มีแรงงานจำนวนมากที่พร้อมทำงาน ประกอบกับมีค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำ เวียดนา...

    calendar icon01.04.2019
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview