รู้ทันเกมการค้า
Hacker เป็นภัยร้ายที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง COVID-19 ระบาด เนื่องจากผู้ซื้อและผู้ขายเปลี่ยนมาติดต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ตแทน จึงเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์มากขึ้น สอดคล้องกับผลสำรวจจาก Kaspersky บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ซึ่งเปิดเผยว่าในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 มีความพยายามโจมตีบริษัทขนาดกลาง (พนักงาน 50-250 คน) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยวิธีการ Phishing เพิ่มขึ้น 24.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 มีภัยคุกคามทางไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูงถึงกว่า 268 ล้านครั้ง
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่าปัจจุบัน Hacker พัฒนาวิธีหลอกลวงได้แนบเนียนขึ้นมาก จากเดิมที่ผู้ประกอบการมักจับพิรุธได้ทันทีที่ได้รับ email แจ้งขอเปลี่ยนบัญชีปลายทางที่ต้องโอนเงินค่าสินค้าเป็นบัญชีใหม่ซึ่งอยู่คนละประเทศกับบัญชีเดิม แต่ปัจจุบันพบว่า Hacker เปลี่ยนมาใช้วิธี email แจ้งให้เปลี่ยนบัญชีปลายทางเป็นอีกบัญชีหนึ่งที่อยู่ในประเทศเดียวกันกับบัญชีเดิม ทำให้ผู้ซื้อไม่ทันระวังตัวจนเกิดความสูญเสีย ดังตัวอย่างล่าสุดที่เกิดขึ้นกับ “นายชอบค้า”
“นายชอบค้า” ทำการค้ากับ “บริษัท A” ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าอยู่ในประเทศจีน โดยใช้ email เป็นเครื่องมือหลักในการติดต่อสั่งซื้อสินค้าและแจ้งธุรกรรมการโอนเงินค่าซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน ล่าสุดเมื่อใกล้ถึงกำหนดที่ “นายชอบค้า” จะต้องชำระเงินค่าสินค้า ก็ได้รับ email จาก “บริษัท A” แจ้งขอเปลี่ยนแปลงบัญชีรับโอนเงินชำระค่าสินค้า ซึ่งเปลี่ยนทั้งชื่อบริษัทผู้ขายและธนาคารผู้รับเงินใหม่ แต่ยังเป็นประเทศจีนเหมือนเดิม โดยอ้างว่าบริษัทถูกหน่วยงานราชการของจีนตรวจสอบบัญชีอยู่ แม้ “นายชอบค้า”จะเกิดความสงสัย
แต่เห็นว่า email ที่ “บริษัท A” ติดต่อมายังเป็น email เดิมที่ใช้ติดต่อกันเป็นประจำ อีกทั้งบัญชีใหม่ที่ให้โอนเงินเป็นบัญชีที่อยู่ในประเทศเดิม จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะ “นายชอบค้า” เคยได้ยินมาว่า Hacker มักจะ email แจ้งเปลี่ยนบัญชีรับโอนชำระค่าสินค้าเป็นบัญชีที่เปิดในประเทศแถบยุโรป เช่น ผู้ขายอยู่ในจีนแต่ให้เปลี่ยนไปโอนเงินเข้าบัญชีที่อยู่ในฝรั่งเศส ทำให้“นายชอบค้า” ไม่คิดว่าตนเองกำลังตกเป็นเป้าจู่โจมของ Hacker จึงโอนเงินค่าสินค้าเข้าบัญชีใหม่ตามที่ได้รับแจ้งมา ก่อนจะพบว่าตนเองเสียรู้ให้กับ Hacker ไปแล้ว
สิ่งที่ต้องฉุกคิดในการติดต่อ email กับผู้ขาย
- มี email จากผู้ขายขอเปลี่ยนเลขที่บัญชี ชื่อธนาคาร และประเทศ จากที่เคยตกลงกันไว้
- ชื่อผู้ขายและผู้รับชำระเงินปลายทางเป็นคนละคนกัน
- ประเทศของผู้รับเงินกับธนาคารผู้รับเงินอยู่คนละประเทศกัน
- Email ของผู้ขายเปลี่ยนแปลงไป อาทิ มีตัวอักษรเพิ่มขึ้น เช่นจากชื่อ Somsri เป็น Somsrii (มี i เพิ่มมาตอนท้าย 1 ตัว)
- รูปแบบตัวอักษร (front) ในเอกสารไม่เหมือนเดิม หรือมีการใช้ตัวอักษรหลายรูปแบบในเอกสารเดียวกัน
วิธีป้องกันตัวเบื้องต้นจากการถูก Hacker หลอกลวง
- มีข้อตกลงกับคู่ค้าว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขบัญชีปลายทาง หรือชื่อคู่ค้า จะต้องมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร
- ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการโอนเงินเราควรตรวจสอบกับคู่ค้าผ่านช่องทางอื่นนอกเหนือจาก email อาทิ โทรศัพท์หรือโทรสารหาคู่ค้าโดยตรง
- ตอบ email โดยไม่ใช้ปุ่ม Reply แต่ใช้วิธีพิมพ์หรือคัดลอกที่อยู่ email หรือเลือก email จาก Contact ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
- หมั่นดูแลระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ให้รัดกุม อาทิ ใช้ 2 Step Verification ระมัดระวัง
การติดตั้งหรือดาวน์โหลดโปรแกรมที่สุ่มเสี่ยงและไม่น่าเชื่อถือ และ Update โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ
ที่เกี่ยวข้อง
-
สั่งซื้อเครื่องจักรใหม่ทั้งที จะให้ดีต้องตรวจสอบผู้ขาย
การที่ประเทศไทยมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมประชากรสูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบ (มีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี มากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด) ภายในปี 2564 และมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประ...
31.03.2020 -
ให้จ่ายก่อน...ไม่รับผ่อน : ต้นเหตุของการชวดออเดอร์โดยไม่รู้ตัว
การป้องกันความเสี่ยงจากการทำการค้าระหว่างประเทศ ทั้งการตรวจสอบสถานะทางการเงินของคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอ เลือกวิธีชำระเงินที่ปลอดภัยสำหรับผู้ขาย ทำประกันการส่งออก ทำประกันภัยการขนส่งสินค้า และทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่...
31.01.2020
-
ทราบหรือไม่ ขายผ่าน L/C แม้ไม่ชวด…แต่บางครั้งได้เงินช้า
ในบรรดาช่องทางการชำระเงินทั้งหมดในการทำค้าระหว่างประเทศ นอกจาก Advance Payment ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ขาย/ผู้ส่งออกจะได้รับชำระเงินล่วงหน้าก่อนส่งสินค้าแล้ว Letter of Credit หรือ L/C ก็เป็นที่นิยมของผู้ขายเพราะทำให้มั่นใจได้ใ...
30.01.2021 -
หา Supplier ใหม่อย่างไรไม่เพิ่มความเสี่ยงในภาวะวิกฤต COVID-19
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) นอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของธุรกิจในระดับมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป โดยหนึ่งในลักษณะของธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบรุนแรงคือ ผู้ประกอบ...
30.04.2020 -
ข้อผิดพลาดจากคลังสินค้า...อีกชนวนเหตุคู่ค้าปฏิเสธการรับสินค้า
จากบทความก่อนหน้าที่ได้กล่าวถึงกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารภายในของบริษัทผู้ส่งออก จนลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้าเพราะสีของสินค้าที่ส่งมอบไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อ กรณีดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในหลายความผิดพลาดที่เก...
30.06.2021