รู้ทันเกมการค้า

เพิกเฉยการตรวจสอบ L/C ... ภัยแฝงที่มักถูกมองข้าม

แม้ในปี 2565 เศรษฐกิจและการค้าโลกจะมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่อง แต่ความเสี่ยงทางการค้าก็ยังเป็นปัจจัยที่ผู้ส่งออกไม่ควรมองข้าม โดย Euler Hermes คาดการณ์ว่า ภาวะล้มละลายของภาคธุรกิจทั่วโลกในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 15% จากที่ลดลงมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มปรับลดมาตรการช่วยเหลือลง จึงอาจทำให้ธุรกิจบางส่วนที่เคยอยู่ได้จากความช่วยเหลือดังกล่าวประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจนก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งผู้ส่งออกบางส่วนอาจลดความเสี่ยงด้วยการปรับมาซื้อ-ขายกันโดยใช้ L/C แต่ทราบหรือไม่ว่า หากผู้ส่งออกไม่ตรวจดูเอกสารอย่างรอบคอบ อาทิ กำหนดวันส่งสินค้า จำนวน ราคา ตลอดจนประเภทของ L/C แล้ว การใช้ L/C ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงิน ดังกรณีของ “นายชอบค้า”

“นายชอบค้า” เป็นผู้ส่งออกเครื่องใช้ในบ้าน ได้เจรจาตกลงรายละเอียดการซื้อขายสินค้ากับ บริษัท A เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งในเรื่องแบบ จำนวน และราคา รวมถึงวันส่งสินค้า ซึ่งระบุว่าให้จัดส่งภายในวันที่ 25 มกราคม XXXX  แต่เนื่องจาก บริษัท A เป็นคู่ค้าที่ติดต่อค้าขายกันไม่นาน “นายชอบค้า” จึงขอให้ บริษัท A ซึ่งเป็นผู้ซื้อเปิด L/C เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้า และเมื่อ “นายชอบค้า” ได้รับ L/C ก็ดำเนินการผลิตทันทีเพื่อให้ทันกำหนดส่งมอบ โดยไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดใน L/C ว่าตรงตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกับ บริษัท A ไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่ จึงไม่ทราบว่าใน L/C ระบุวันที่จัดส่งสินค้าคลาดเคลื่อนจากที่ได้เจรจาตกลงไว้ เป็นภายในวันที่ 15 มกราคม XXXX

กระทั่ง “นายชอบค้า” จัดส่งสินค้าลงเรือเรียบร้อยในวันที่ 25 มกราคม XXXX และนำเอกสารการส่งออกสินค้าส่งมอบให้กับธนาคาร เพื่อเรียกเก็บเงินค่าสินค้า จึงได้รับแจ้งว่าธนาคารผู้เปิด L/C ปฏิเสธความรับผิดชอบในการชำระเงินจากการที่ผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน L/C ที่ระบุให้ส่งสินค้าภายในวันที่ 15 มกราคม XXXX ทั้งนี้ หาก บริษัท A เข้าใจถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและยอมชำระค่าสินค้าตามที่ตกลงกันไว้ “นายชอบค้า” ก็จะไม่ได้รับความเสียหายจากกรณีนี้ แต่หาก บริษัท A อยู่ในช่วงที่สถานะทางการเงินไม่พร้อมก็อาจใช้โอกาสนี้เจรจาต่อรองขอส่วนลดค่าสินค้า หรือปฏิเสธการรับสินค้าที่ส่งไปแล้ว ซึ่งทำให้ “นายชอบค้า” นอกจากไม่ได้รับเงินค่าสินค้าจาก บริษัท A แล้ว ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดการสินค้าที่ตกค้างอยู่ที่ท่าเรืออีกด้วย

จากกรณีข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ความผิดพลาดจุดเล็กๆ จากการระบุตัวเลขวันที่ผิดไปเพียง 1 ตัว ก็สามารถกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจได้ ผู้ส่งออกจึงไม่ควรละเลยการตรวจสอบ L/C ที่ได้รับมาอย่างละเอียดรอบคอบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกำหนดวันส่งสินค้า ราคา รูปแบบ สี จำนวนผลิต เงื่อนไขต่างๆ รวมถึงเอกสารทั้งหมดที่ใน L/C ระบุให้ต้องจัดเตรียม และเมื่อตรวจพบข้อสงสัยในเงื่อนไขใดก็ควรรีบติดต่อขอเจรจากับผู้ซื้อเพื่อขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใน L/C ก่อนจะเริ่มการผลิตและส่งสินค้าออกไป นับเป็นวิธีง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพในการช่วยผู้ส่งออกลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

Icon made by Surang, Dimitry Miroliubov and Freepik from www.flaticon.com

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
  • ตกขบวนการค้าออนไลน์ ... ต้นเหตุของการไม่ชำระค่าสินค้า

    การระบาดของ COVID-19 เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้การค้าขายผ่านออนไลน์ เช่น Social Media และ E-marketplace เติบโตอย่างก้าวกระโดดสวนทางกับการค้าผ่านหน้าร้านที่สะดุดลงกะทันหัน และแม้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให...

    calendar icon05.11.2021
  • มาตรการปิดเมือง (Lockdown) เปิดจุดเสี่ยงการส่งออก

    มาตรการปิดเมือง (Lockdown) เป็นหนึ่งในมาตรการที่คนทั่วโลกมีประสบการณ์ครั้งแรกร่วมกันในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากแต่ละประเทศต้องการชะลอการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ขณะเดียวกันการใช้ม...

    calendar icon31.03.2021
Most Viewed
more icon
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview