ข่าวเศรษฐกิจ

ครม. อนุมัติ 3 มาตรการลดผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศของคณะกรรมการค่าจ้าง ที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดทั่วประเทศในอัตรา 5-22 บาท ส่งผลให้ค่าจ้างขั้นต่ำของไทยอยู่ระหว่างวันละ 308-330 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป พร้อมกันนั้นยังเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 3 มาตรการ ดังนี้ 1) มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้ประกอบการสามารถนำค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-31 ธันวาคม 2561 มาหักค่าใช้จ่ายได้ 1.15 เท่า 2) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้าง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างปี 2561-2563 ใช้งบประมาณดำเนินการโครงการจำนวน 5,000 ล้านบาท ซึ่ง SMEs ที่เข้าร่วมโครงการจะลดต้นทุนการผลิตได้ราว 10% 3) มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ประกอบด้วย 2 มาตรการย่อย คือ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร โดยขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการผลิตเพื่อยกระดับการบริหารจัดการ (จากเดิมให้เฉพาะเครื่องจักรอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีการผลิต) ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ของมูลค่าเครื่องจักรที่นำมาปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปี และปรับปรุงการให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน โดยขยายขอบเขตของกิจการให้ครอบคลุมถึงการอบรมบุคลากรให้มีทักษะเฉพาะทางสูงขึ้น เช่น การอบรมคอมพิวเตอร์ชั้นสูง การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง (กรุงเทพธุรกิจ, 31 ม.ค. 2561 และฐานเศรษฐกิจ, 1-3 ก.พ. 2561)
Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี

    สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...

    calendar icon27.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview