Hot Issues

เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย…กดดันการส่งออกของไทย

ประเด็นสำคัญ

  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส โดยหดตัว 9% ในไตรมาส 2 ปี 2565 และ 1.6% ในไตรมาสแรก เศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
  • ในระยะข้างหน้า Fed จะยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อยุติภาวะเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดว่าดอกเบี้ยจะขึ้นไปจนแตะระดับ 5% ในปลายปีนี้
  • สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2565 การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ เสี่ยงชะลอตัว โดยเฉพาะสินค้าที่ผันผวนตามความเชื่อมั่นผู้บริโภค อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงสินค้าขั้นกลาง อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางรถยนต์ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยควรรับมือด้วยการกระจายตลาดส่งออก เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ
  • การเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กดดันค่าเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ (EM) ให้มีทิศทางอ่อนค่า ซึ่งจะบั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ EM บางประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจเปราะบางอยู่แล้ว และบั่นทอนการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย

  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว 9% (q-o-q, annualized) ในไตรมาส 2 ปี 2565 ซึ่งหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัว 0.3% ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค (เศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส) หลังจากเศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัว 1.6%
  • การหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นผลจากการลงทุนของภาคเอกชนที่หดตัวถึง 5% โดยการลงทุนลดลงในทุกหมวดทั้งการก่อสร้างอาคารและโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ การก่อสร้างบ้าน ตลอดจนสินค้าคงคลัง ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลในกลุ่มสินค้าต่างๆ ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าทั่วไป หดตัว 4.4% จากแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมทั้งความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่จะชะลอตัว

ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น … ปัจจัยกดดันเศรษฐกิจสหรัฐ

  • ภาวะเงินเฟ้อสูงมีแนวโน้มบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภค สะท้อนจากผลสำรวจล่าสุดของ The Conference Board พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 2565 ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 2564 และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงถึง 1% ในเดือน มิ.ย. 2565 ซึ่งสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี ส่งผลให้ผู้บริโภคสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อที่อยู่อาศัย รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยมีแนวโน้มชะลอตัว
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อสูง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 Fed ได้ขึ้นดอกเบี้ยอีก 75% มาอยู่ที่ 2.25-2.50% และคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยไปจนแตะระดับ 3.5% ในปลายปี 2565

  • อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญภาวะถดถอย เนื่องจากเพิ่มภาระต้นทุนทางการเงินและสร้างปัญหาสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ โดยจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2497 พบว่าวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ทั้งหมด 11 รอบ จะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยถึง 8 รอบด้วยกัน

 

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Most Viewed
more icon
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview