Hot Issues

สหรัฐฯ ปิดธนาคาร Silicon Valley Bank … โอกาสเกิด Domino Effect อยู่ในวงจำกัด

สถานการณ์ : เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2566 US Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) เข้าควบคุมและดูแลเงินฝากของ Silicon Valley Bank (SVB) หลังเกิดกระแสความตื่นตระหนกและมีการเร่งถอนเงินออกจาก SVB ราว 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในวันเดียว (Bank Run) เนื่องจากลูกค้าและนักลงทุนเกิดความไม่เชื่อมั่นหลังจาก SVB เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องและไม่สามารถเพิ่มทุนวงเงิน 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้ตามแผน ล่าสุดทางการสหรัฐฯ ออกมาตรการเพื่อช่วยคุ้มครองเงินฝากและประกาศอัดฉีดเงิน 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ระบบธนาคาร

Silicon Valley Bank (SVB) คือใคร

  • ธนาคารพาณิชย์อันดับ 16 ของสหรัฐฯ มีสินทรัพย์มูลค่า 209 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 2565 คิดเป็นสัดส่วน 1% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ
  • เน้นลูกค้ากลุ่ม Tech Startup ทั้งรับเงินฝากจากธุรกิจ Tech Startup และการปล่อยกู้ให้ธุรกิจ Tech Startup โดย Headquarters อยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย
  • SVB เป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ที่ถูกปิดกิจการนับตั้งแต่วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ปี 2551 และนับเป็นกรณีใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ รองจากกรณี Washington Mutual Bank

  • Liquidity Mismatch
    • ด้านหนี้สิน : โดยเฉพาะเงินฝาก มีลักษณะเป็นเงินฝากระยะสั้นและผันผวนสูง เนื่องจากฐานลูกค้ามาจากภาคธุรกิจ (Tech Startup) มากกว่าลูกค้ารายย่อย (สัดส่วนเงินฝากลูกค้ารายย่อยเพียง 10%) ซึ่งลักษณะของเงินฝากลูกค้ากลุ่มธุรกิจจะเป็นการพักเงินไว้ระยะสั้น มีการเข้า-ออกเงินรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ
    • ด้านสินทรัพย์ : SVB นำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว เช่น พันธบัตร เนื่องจากพอร์ตสินเชื่อขยายตัวไม่ทันฐานเงินฝากที่เติบโตสูงเป็นกว่า 4 เท่า โดยฐานเงินฝากเพิ่มขึ้นจาก 44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 เป็น 189 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564
  • สถานการณ์ก่อนเกิดภาวะ Bank Run
    • เงินฝากของ SVB มีแนวโน้มลดลงอยู่แล้ว โดยลดลงราว 9% ในปี 2565 เนื่องจาก Tech Startup ของสหรัฐฯ ต้องถอนเงินออกจาก SVB มาใช้ดำเนินธุรกิจในภาวะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว และ Fed ยังขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ทำให้ Tech Startup ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก ระดมทุนได้ยากขึ้น เงินฝากที่เข้ามาใน SVB จึงเริ่มลดลง จนเกิดปัญหา SVB ขาดสภาพคล่องและต้องทยอยขายตราสารหนี้
    • SVB ประสบภาวะขาดทุนจากการขายตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล และ Mortgage-backed Securities ซึ่ง SVB ลงทุนไว้มากราวครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ทั้งหมด โดยนโยบายขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ตราสารหนี้ที่ SVB
      ถือครองมีมูลค่าลดลง ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 SBV ประกาศผลขาดทุนราว 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก
      การขายพันธบัตรและตราสารหนี้มูลค่า 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    • SBV ประกาศแผนเพิ่มทุนวงเงิน 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

  • ภาวะ Bank Run
    • หลังตลาดทราบข่าวความล้มเหลวในการประกาศเพิ่มทุน ส่งผลให้ผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินออกจาก SBV และทำให้หุ้น SBV ลดลงกว่า 60%
    • Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) ซึ่งเป็นหน่วยงานประกันเงินฝากของรัฐบาลสหรัฐฯ เข้ามาดูแลจัดการสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของ SVB หลังจาก California Department of Financial Protection and Innovation (DFPI) ประกาศปิดกิจการ SVB
  • ภาวะ Bank Run
    • หลังตลาดทราบข่าวความล้มเหลวในการประกาศเพิ่มทุน ส่งผลให้ผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินออกจาก SBV และทำให้หุ้น SBV ลดลงกว่า 60%
    • Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) ซึ่งเป็นหน่วยงานประกันเงินฝากของรัฐบาลสหรัฐฯ เข้ามาดูแลจัดการสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของ SVB หลังจาก California Department of Financial Protection and Innovation (DFPI) ประกาศปิดกิจการ SVB

 

มาตรการของสหรัฐฯ ในการแก้ไขปัญหา

  • เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2566 สหรัฐฯ ประกาศปิดกิจการ Signature Bank อีกราย หลังพบว่ามีปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดย Signature Bank เป็นธนาคารที่เน้นลูกค้ากลุ่ม Cryptocurrency
  • สหรัฐฯ ออกมาตรการเพื่อช่วยคุ้มครองเงินฝากของทั้ง SVB และ Signature Bank โดยประกาศว่าลูกค้าของทั้งสองธนาคารสามารถเข้าถึงเงินฝากของตนทั้งหมดได้ภายในวันที่ 13 มี.ค. 2566

หมายเหตุ : เดิมที ตามกฎหมายของสหรัฐฯ FDIC จะให้การคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อผู้ฝาก 1 ราย ต่อ 1 ธนาคาร ส่งผลให้เงินฝากราว 85% ของ SBV ไม่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก

  • Fed ประกาศอัดฉีดเงิน 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้โครงการ Bank Term Funding Program โดยให้วงเงินกู้ระยะเวลาสูงสุด 1 ปีแก่สถาบันการเงิน และใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ และ Mortgage-backed Securities

ประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

  • Systematic Risk (ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตลาดการเงินทั้งระบบ) และ Domino Effect มีโอกาสเกิดในวงจำกัด หลังภาครัฐออกมาตรการบรรเทาปัญหา Liquidity ที่เกิดขึ้น ได้แก่ มาตรการคุ้มครองเงินฝากที่ช่วยลดผลกระทบโดยตรง และมาตรการอัดฉีดที่ช่วยแก้ปัญหาการด้อยค่าของตราสารหนี้ ขณะที่ความเสี่ยงด้านคุณภาพหนี้ในภาพรวมธนาคารสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดย NPLs Ratio อยู่ที่ 2% (ณ เดือน ก.ย. 2565) และ NPLs Ratio ของ SVB ต่ำกว่า 1%
  • ยังคงต้องจับตาธนาคารขนาดเล็กที่เน้นลูกค้ากลุ่ม Tech Startup เนื่องจากมีความเสี่ยงประสบปัญหาจากการชะลอตัวของธุรกิจ Tech Startup
  • ธุรกิจ Tech Startup ของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวอยู่แล้ว จะประสบปัญหาภาวะการเงินตึงตัวมากขึ้น เนื่องจาก Ecosystem การเงินที่เกี่ยวข้องมีปัญหา
  • การชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เริ่มมีการคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแค่เพียง 25% หรืออาจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. 2565 จากเดิมคาดว่าจะขึ้น 0.5%
  • ความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินสหรัฐฯ จะส่งผลให้ค่าเงินบาทและตลาดการเงินโลกยังมีความผันผวนในระยะข้างหน้า
เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
Most Viewed
more icon
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview