Hot Issues

ภูมิคุ้มกันหมู่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในหลายประเทศ ผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

ประเด็นสำคัญ

-หลายประเทศเร่งกระจายวัคซีน COVID-19 ต่อเนื่อง คาดว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2564 ชาติตะวันตก อาทิ สหรัฐฯ และ EU จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว

-อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2564 โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีภูมิคุ้มกันหมู่เป็นอันดับต้นๆ อย่างสหรัฐฯ และ EU จะเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกๆ ที่จะกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทย ทั้งนี้ ททท. สศช. และ สศค.คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยในปี 2564 ไว้ที่ 3-6 ล้านคน

-ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย อาทิ กำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่ยังไม่กลับมา นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศของประเทศต่างๆ และความพร้อมของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวของไทย

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

ภูมิคุ้มกันหมู่ทยอยเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2564

-องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (The World Tourism Organization : UNWTO) ระบุว่า ปี 2563 เป็นปีที่การท่องเที่ยวโลกตกต่ำเป็นประวัติการณ์ จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศลดลงถึง 74% และรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 11 เท่าของความสูญเสียที่เกิดจาก Hamburger Crisis เมื่อปี 2552

-ปัจจุบันหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ EU และจีน เร่งฉีดวัคซีน COVID-19 ให้ประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity (ราว 70% ของจำนวนประชากรในพื้นที่มีภูมิคุ้มกัน) ให้เร็วที่สุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวโลกให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

-คาดการณ์การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ จากข้อมูลของ Airfinity ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ในสหราชอาณาจักร ระบุว่าสหรัฐฯ จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในไตรมาส 2 ปี 2564 และ EU ในไตรมาส 3 ปี 2564 ขณะที่ The Economist Intelligence Unit (EIU) ได้ประเมินช่วงเวลาที่แต่ละประเทศฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ครอบคลุมทั้งหมด โดยทั้งสองแหล่งประเมินภาพรวมตรงกันว่าประชาชนในกลุ่มประเทศตะวันตกมีแนวโน้มจะได้รับวัคซีนครอบคลุมทั้งหมดและเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ก่อนประเทศในเอเชีย

ความคิดเห็นฝ่ายวิจัยธุรกิจ

การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวมีโอกาสได้รับผลดี การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่จะกระตุ้นให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิ ของที่ระลึก ของใช้ในโรงแรม และสินค้าอาหาร โดยตลาดที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ก่อน คือ ประเทศที่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในอันดับต้นๆ อาทิ สหรัฐฯ และ EU รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม

สัญญาณการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยคาดว่าจะเริ่มในไตรมาส 3 ปี 2564 เนื่องจากคาดว่านักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีภูมิคุ้มกันหมู่จะเริ่มเดินทางท่องเที่ยวนอกประเทศมากขึ้น

-ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยมีเฉพาะนักท่องเที่ยวภายใต้ข้อตกลงพิเศษซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เพียง 24,257 คน (ตั้งแต่ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งต่ำกว่า 1% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีปกติของไทยซึ่งอยู่ที่ราว 40 ล้านคน

-จากคาดการณ์ของหน่วยงานภาครัฐในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564 อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ระบุว่าในปี 2564 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยราว 3-6 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าว ฝ่ายวิจัยธุรกิจคาดว่ามีโอกาสที่จะเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศในฝั่งตะวันตกราว 1 ล้านคน สร้างรายได้ให้ภาคการท่องเที่ยวราว 5% ของรายได้จากการท่องเที่ยวในปีปกติ (ภายใต้สมมติฐานว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มประเทศที่มีภูมิคุ้มกันหมู่ราวครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 จะกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทย)

-การท่องเที่ยวของไทยในปี 2565 คาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงปลายปี 2565 ที่คาดว่านักท่องเที่ยวหลักของไทยอย่างจีนจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่และกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทยซึ่งถือเป็นความหวังสำคัญสำหรับฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทย

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม เพราะอาจมีผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทยน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาทิ

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
Most Viewed
more icon
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview