เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ (Discontinued)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นจนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่เข้าขั้นวิกฤต เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ประชาคมโลกกำลังเร่งแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่เว้นแม้แต่เวียดนามที่ตั้งเป้าการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593 เพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน ขณะเดียวกัน เวียดนามก็กำลังเร่งแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศ ซึ่งเป็นผลพวงจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมือง ซึ่งราว 85% ของขยะทั้งหมดในเวียดนามที่มีจำนวน 13 ล้านตันต่อปี ยังไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และก่อให้เกิดปัญหามลพิษตามมา ทั้งนี้ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในระดับโลกและในประเทศ ทำให้รัฐบาลเวียดนามจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น ควบคู่ไปกับการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในเวียดนามในระยะข้างหน้า
กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่…แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมเกื้อหนุนเศรษฐกิจสีเขียว
รัฐบาลเวียดนามบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ (Law on Environmental Protection : LEP) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 และทยอยออกกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับกฎหมาย LEP ซึ่งมุ่งดำเนินการเชิงรุกในการลดการปล่อยคาร์บอนและลดปัญหามลพิษในประเทศ โดยกฎระเบียบใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ มีดังนี้
ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสามารถมีส่วนรับผิดชอบในการรีไซเคิลได้ 2 ทางเลือก คือ
- รีไซเคิลด้วยตนเองหรือว่าจ้างธุรกิจจัดการรีไซเคิลเพื่อดำเนินการ โดยผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะต้องลงทะเบียนกับ Ministry of Natural Resource and Environment (MONRE) และยื่นแผนการจัดการรีไซเคิล รวมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนต่อ MONRE เป็นประจำทุกปี
- สนับสนุนเงินทุนให้แก่ Vietnam Environmental Protection Fund (VEP Fund) เพื่อนำไปใช้ดำเนินการรีไซเคิลตามที่รัฐบาลกำหนด โดยจำนวนเงินที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญ อาทิ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิล (Fixed Recycling Cost) ของแต่ละหมวดสินค้าตามที่รัฐบาลกำหนดและจะมีการทบทวนทุก 3 ปี ปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าและปริมาณการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในเวียดนามเป็นรายปี รวมถึงอัตราการรีไซเคิลที่กำหนดในแต่ละหมวดสินค้า
อย่างไรก็ตาม ระเบียบดังกล่าวยกเว้นการบังคับใช้กับผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าเพื่อส่งออก รวมถึงผู้ผลิตที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 30 พันล้านด่อง (ราว 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และผู้นำเข้าที่มีมูลค่านำเข้าต่อปีต่ำกว่า 20 พันล้านด่อง (ราว 8.7 แสนดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งนี้ การบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ ภายใต้ LEP ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีส่วนสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน* ของเวียดนาม โดยเฉพาะการกระตุ้นให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลและการจัดการขยะ ขยายตัวในระยะข้างหน้า ขณะที่การจัดตั้งตลาดคาร์บอนจะเป็นกลไกที่ช่วยผลักดันภาคธุรกิจในเวียดนามให้ก้าวเข้าสู่วิถีคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสีเขียว** เท่าทันกระแสโลกได้มากขึ้น
*เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ รูปแบบหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยมุ่งเน้นไปที่ Zero Waste หรือการลดปริมาณของเสียให้เป็นศูนย์ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การรีไซเคิล และการผลิตสินค้า/บรรจุภัณฑ์จากขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้ว
** เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือ รูปแบบหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในหลากหลายรูปแบบทั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การผลิตสินค้าที่ช่วยลดการใช้พลังงานหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยมลพิษและพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
National Green Growth Strategy 2021-2030 … เติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว
รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติแผน National Green Growth Strategy (NGGS) เมื่อปลายปี 2564 เพื่อเป็นยุทธศาตร์การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวที่มุ่งตอบโจทย์การเติบโตไปพร้อมกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งภายใต้ NGGS มีการกำหนดกรอบการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในปี 2573 อาทิ
*** การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศต่อหนึ่งหน่วยของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยในแผนดังกล่าวกำหนดให้ลดเทียบจากปี 2557
ปัจจุบันเวียดนามอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับรองรับการดำเนินการภายใต้ NGGS อย่างเป็นรูปธรรม
โอกาสและความท้าทายของธุรกิจไทย
การดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น รวมถึงทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ NGGS ที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะมีส่วนเกื้อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวในเวียดนาม รวมทั้งสร้างโอกาสและเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขยายธุรกิจในเวียดนาม ดังนี้
ที่เกี่ยวข้อง
-
ตลาด Fintech เวียดนาม...กับศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
วิกฤต COVID-19 ถือเป็นตัวเร่งให้ตลาด Fintech (Financial Technology) ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่คุ้นเคยกับการใช้เงินสดเป็นหลักอย่างเวียดนาม ส่งผลให้มีผู้เล่นจากทั้งในและนอกประเทศเข้ามาลงทุนเพื่อแย่งชิ...
01.08.2022 -
เรื่องต้องรู้ของนักลงทุนไทย … ร่างกฎหมาย Offshore Loan ฉบับใหม่ของเวียดนาม
เวียดนามเป็นประเทศดาวเด่นที่บริษัทต่างชาติเข้าไปปักหมุดขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนหลายด้านทั้งตลาดขนาดใหญ่และความพร้อมด้านแรงงาน ไปจนถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจในเวียดนา...
30.06.2022
-
Q&A ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ลงทุนใน สปป.ลาว
การหาพื้นที่เพื่อตั้งกิจการนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ใน สปป.ลาว ที่เป็นตลาดบ้านใกล้เรือนเค...
01.04.2019 -
เอกสารสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน สปป.ลาว
เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ การปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนเป็นเสมือนหน้าด่านที่จะสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาให้ละเอียดและทำความเข...
01.07.2019 -
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่ของ สปป.ลาว
ในช่วงที่ผ่านมา สปป.ลาว ทยอยปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับให้สอดรับกับบริบททางสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหนึ่งในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว ที่มีการปรับปรุงและเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 กุม...
31.03.2020