ข่าวเศรษฐกิจ

ผู้ประกอบการวอนทบทวนค่าธรรมเนียมนำเข้าสัตว์น้ำ ผวานักลงทุนหนี

ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 1/2567 ได้มอบหมายให้กรมประมงจัดเก็บค่าธรรมเนียมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เพื่อแก้ปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำนั้น ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2567 กรมประมงได้พิจารณาจัดเก็บค่าธรรมเนียมสัตว์น้ำหรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนในการควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคระบาดสัตว์น้ำ จึงได้จำแนกกลุ่มของสัตว์น้ำออกเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด (เสี่ยงต่ำ เสี่ยงกลาง เสี่ยงสูง และเสี่ยงสูงมาก) ที่มีการประกาศจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และคิดค่าธรรมเนียมนำเข้าในอัตราเฉลี่ยกิโลกรัม (กก.) ละ 5 สตางค์ ถึง 1 บาท โดยมีการปรับลดจากค่าธรรมเนียมสูงสุด กก.ละ 2 บาทแล้ว อาทิ กลุ่มปลาทูน่า กก.ละ 25 สตางค์ กลุ่มปลา กก.ละ 50 สตางค์ กลุ่มกุ้งทะเล 3 ชนิด และกลุ่มกุ้งก้ามกราม กก.ละ 1 บาท อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ดังนี้ 

- สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยระบุว่า ไทยนำเข้าทูน่าเฉลี่ยปีละ 8 แสนตัน หากต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 สตางค์ จะต้องใช้เงินราว 400 ล้านบาทซึ่งสูงมาก และสมาคมฯ สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมได้ กก.ละ 1-5 สตางค์เท่านั้น เพราะกำไรของแต่ละบริษัทมีเพียง 2-3% พร้อมทั้งเสนอให้มีการทำ MOU ซื้อขายปลาโอ ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรลในราคาที่เหมาะสมแทน  

- สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยระบุว่า ปกติการนำเข้าปลาป่นมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่แล้ว ส่วนกรณีปลาเป็ดที่กรมประมงแจ้งตัวเลขนำเข้าย้อนหลัง 3 ปี รวม 8.3 หมื่นตัน ได้ตรวจสอบจากสมาชิกสมาคมฯ พบว่ามีการนำเข้าจริงเพียง 3.5 หมื่นตัน เพื่อใช้ผลิตปลาป่นเท่านั้น จึงมีความกังวลว่าหากมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่ต่างกันมากจะทำให้มีการนำเข้าปลามาสวมเป็นปลาเป็ด นอกจากนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียม กก.ละ 5 สตางค์ จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นและกระทบถึงต้นทุนอาหารสัตว์ด้วย  

- สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยว่า สินค้านำเข้าของสมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปลา ซูริมิ ปลาหมึก และกุ้ง ที่มีการนำเข้าปีละ 1.7 ล้านตัน หากคิดค่าธรรมเนียมนำเข้า กก.ละ 50 สตางค์ จะมีมูลค่าปีละ 850 ล้านบาท ซึ่งสูงมาก ขณะที่ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกถดถอย กำไรของแต่ละบริษัทลดลงมาก อีกทั้งกำลังซื้อในประเทศก็ถดถอย ทำให้การเก็บค่าธรรมเนียมนี้ไม่สอดคล้องกับกำลังจ่าย เช่นเดียวกับกุ้งน้ำหนาวที่นำเข้าจากอาร์เจนตินา หากเก็บค่าธรรมเนียมจะทำให้ผู้ที่ลงทุนอาจย้ายไปเลี้ยงที่เวียดนามจนต้องเลิกจ้างพนักงานในไทย (ฐานเศรษฐกิจ, 22-24 ก.พ. 2567) 

Related
more icon
  • จีนเปิดนำเข้ากุ้งก้ามกรามมีชีวิตจากไทย

    กรมประมงเปิดเผยว่า สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ได้อนุมัติให้เพิ่มกุ้งก้ามกรามมีชีวิตในบัญชีรายชื่อสินค้าที่อนุญาตให้นำเข้า และยอมรับรายชื่อฟาร์มจำนวน 28 ราย และสถานบรรจุสัตว์น้ำ 7 ราย ให้ส่งออกกุ้งก้ามก...

    calendar icon05.09.2024
  • จับตาประชุมแก้ปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ

    ผู้สื่อข่าวรายงานการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ ซึ่งจะมีการประชุมในสัปดาห์นี้ว่า ที่ประชุมจะติดตามการเพิ่มราคารับซื้อสัตว์น้ำโดยใช้กลไกราคา ระหว่างกลุ่มชาวประมงในฐานะผู้ขาย กับกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในฐานะผู้ซื้อ ล...

    calendar icon09.04.2024
Most Viewed
more icon
  • ราคาไม้สับเพิ่มขึ้นแตะระดับตันละ 1,300-1,350 บาท สูงสุดในรอบ 10 ปี

    สมาคมการค้าชีวมวลไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตพืชเกษตรหลายประเภท อาทิ อ้อย ลดลงมาก ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่นำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจึงลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการไม้สับ (Wood Chips) ที่ผลิตจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปต...

    calendar icon27.01.2021
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview