Hot Issues
ประเด็นสำคัญ
- IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 เป็นขยายตัว 6% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2523 ที่ IMF เริ่มจัดทำข้อมูล
- การเร่งกระจายวัคซีนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของประเทศเศรษฐกิจหลัก ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564
- สหรัฐฯ จีน และอินเดียเป็นประเทศเศรษฐกิจสำคัญที่มีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นในปี 2564
- IMF คาดว่าปริมาณการค้าสินค้าของโลกในปี 2564 จะขยายตัว 9.5% จากที่หดตัว 5.1% ในปีที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เผยแพร่รายงาน World Economic Outlook ซึ่งให้ภาพภาวะเศรษฐกิจโลก ไปจนถึงคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยมีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
IMF ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกดีกว่าเดิม
- เศรษฐกิจโลกปี 2563 หดตัว 3% ขณะที่เศรษฐกิจโลกปี 2564 มีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ โดย IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์ เป็นขยายตัว 6% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2523 ที่ IMF เริ่มจัดทำข้อมูล และเพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ 5.5%
- การเร่งกระจายวัคซีน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของประเทศเศรษฐกิจหลัก สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลกรวมกว่า 16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 18% ของ GDP โลก) โดยในจำนวนนี้เป็นการอัดฉีดของสหรัฐฯ (ราว 26% ของ GDP สหรัฐฯ) และ EU (ราว 11% ของ GDP ของ EU) เป็นหลัก
- ปริมาณการค้าสินค้าของโลกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว5% จากที่หดตัว 5.1% ในปีที่ผ่านมา ตามการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะกระตุ้นอุปสงค์ในการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รวมทั้งจีนและอินเดีย ที่มีแนวโน้มขยายตัวดี
ความคิดเห็นฝ่ายวิจัยธุรกิจ
- ลักษณะการฟื้นตัวของตลาดส่งออกสำคัญของไทย หากพิจารณาตลาดส่งออกสำคัญของไทย พบว่าทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพของการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ความรวดเร็วในการจัดหาและกระจายวัคซีน ขนาดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงพื้นฐานโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มประเทศตามลักษณะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ ดังนี้
ที่เกี่ยวข้อง
-
ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน กระทบเศรษฐกิจจีน กระเทือนถึงไทย
KEY TAKEAWAYS บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีนขาดสภาพคล่องและผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากภาคอสังหาฯ ที่ซบเซา ปัญหาภาคอสังหาฯ ส่งผลกระทบให้รายได้ธนาคารลดลงและ NPLs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่สถานะโดยรวมยังแข็งแกร่ง แนวโน้มเศร...
09.10.2023
-
CLMV Snapshot Q1/2565
CLMV Snapshot : Update ความเคลื่อนไหวและข่าวน่าสนใจใน CLMV เป็นรายไตรมาส
01.04.2022
-
ส่งออกทุเรียนไทยไปจีนเสี่ยงสูง…คู่แข่งตีตลาด-จีนปลูกได้เอง
ประเด็นสำคัญ ไทยส่งออกทุเรียนสดเพิ่มขึ้นกว่า 15 เท่าตัวช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยแทบทั้งหมดกระจุกตัวที่จีน ไทยเสี่ยงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดทุเรียนสดในจีนให้เวียดนามใน 3-4 ปีข้างหน้า หลังจีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนา...
07.12.2022