บทความพิเศษจากกรรมการผู้จัดการ
กว่า 1 เดือนที่ผ่านมา สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าจะยุติ หนำซ้ำยังทำให้เศรษฐกิจรัสเซียและยูเครนมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะ Recession และฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เผชิญกับหลายปัจจัยรุมเร้าทั้งผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ยังสูง เงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบหลายทศวรรษ รวมถึงปัญหา Supply Chain Disruption ที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ Economic Intelligence Unit (EIU) ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปี 2565 ลงเหลือ 3.4% จากเดิม 3.9% ขณะที่ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2565 ลงเหลือ 3.2% จากเดิม 3.4%
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจว่าการที่สงครามทางการทหารเกิดขึ้นคู่ขนานไปกับสงครามทางเศรษฐกิจผ่านมาตรการลงโทษที่ชาติตะวันตกและรัสเซียตอบโต้กัน ไม่ได้มีเพียงผู้ที่เสียประโยชน์เท่านั้น แต่ในระยะสั้นอาจมีผู้ผลิตในบางประเทศที่ได้ “ส้มหล่น” จากความขัดแย้งดังกล่าวในบางมิติ ดังนี้
- ผู้ผลิตธัญพืช เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และน้ำมันดอกทานตะวัน ที่ทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันราว 25% 30% และ 75% ของทั้งโลก ตามลำดับ ซึ่งการที่ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง ขณะที่การขนส่งก็ทำได้ยากขึ้นส่งผลให้ตลาดธัญพืชโลกเกิดภาวะอุปทานตึงตัวสวนทางกับความต้องการที่สูงขึ้น ผลักดันให้ปัจจุบันราคาของธัญพืชทั้ง 3 ชนิดในช่วงต้นเดือนเมษายน 2565 ปรับเพิ่มขึ้นถึงราว 30% เทียบกับต้นปี 2565 ปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกธัญพืชสำคัญรายอื่นๆ อาทิ ออสเตรลียและสหรัฐฯ (มีส่วนแบ่งตลาดข้าวสาลี 13% และ 11% ของโลก) รวมถึงออสเตรเลียและแคนาดา (มีส่วนแบ่งตลาดข้าวบาร์เลย์ 26% และ 5% ของโลก) อาจได้ประโยชน์จากคำสั่งซื้อและราคาที่ขยับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นความมั่นคงด้านอาหารก็อาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้บางประเทศไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากนัก อย่างล่าสุดอาร์เจนตินา และฮังการี ก็ห้ามส่งออกธัญพืชเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศแล้ว
- ผู้ผลิตพลังงาน รัสเซียถือเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติถึงราว 11% และ 17% ของโลก ซึ่งปัจจุบันราคาของสินค้าพลังงานทั้งสองในช่วงต้นเดือนเมษายน 2565 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 30% จากต้นปี ทั้งนี้ การที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งรายได้หลักคิดเป็นราว 40% ของรายได้ประเทศรัสเซีย ทำให้ที่ผ่านมามาตรการลงโทษของชาติตะวันตกพยายามมุ่งเป้าไปที่การตัดท่อน้ำเลี้ยงดังกล่าว ล่าสุด สหรัฐฯ และชาติตะวันตกบางแห่งประกาศห้ามหรือพยายามลดสัดส่วนการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้ประเทศผู้ผลิตพลังงานอื่น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ OPEC ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบเกือบ 40% ของโลก รวมถึงสหรัฐฯ กาตาร์และนอร์เวย์ (สัดส่วนผลิตก๊าซธรรมชาติราว 20% 4% และ 3% ของโลก ตามลำดับ) อาจได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บางประเทศ อาทิ จีนและอินเดียอาจได้ประโยชน์จากการที่รัสเซียต้องหา
ผู้ซื้อรายใหม่หรือเพิ่มปริมาณการขายกับผู้ซื้อรายเดิมด้วยราคาที่ต่ำลงเพื่อทดแทนคำสั่งซื้อที่หายไปจากประเทศคู่ขัดแย้ง - ผู้ผลิตแร่โลหะและก๊าซหายาก ทั้งพาลาเดียม (ใช้ผลิตเครื่องฟอกไอเสียรถยนต์) นิกเกิล (ใช้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า) รวมถึงก๊าซนีออน (ใช้ผลิตชิป) โดยหลายฝ่ายกังวลว่าการผลิตแร่โลหะหายากทั้งสองจากรัสเซีย (สัดส่วนผลิตพาลาเดียมและนิกเกิลราว 37% และ 9% ของโลก) และการผลิตก๊าซนีออนจากยูเครน (ผู้ผลิตอันดับ 1 ของโลก) อาจสะดุดลง จากผลของสงคราม ปัจจัยดังกล่าวทำให้ปัญหาคอขวดในหลายอุตสาหกรรมอาจรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ผลิตต้องเร่งหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งอาจเป็นโอกาสของผู้ผลิตพาลาเดียมจากแอฟริกาใต้และแคนาดา (สัดส่วนผลิตพาลาเดียมราว 40% และ 9% ของโลก) ตลอดจนอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (สัดส่วนผลิตนิกเกิลราว 37% และ 14% ของโลก) รวมถึงจีนที่เป็นผู้ผลิตก๊าซนีออนสำคัญของโลกที่อาจได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ระยะสั้น แม้สงครามที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบทางตรงต่อไทยไม่มากนัก เนื่องจากไทยมีการค้ากับรัสเซียและยูเครนเพียง 0.6% ต่อการค้ารวม ขณะที่สินค้าไทยบางชนิดอาจได้อานิสงส์จากการเข้าไปทดแทน อาทิ การส่งออกข้าวไปทดแทนข้าวสาลี การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปสหรัฐฯ หรือสินค้าประมงไป EU เพื่อแทนสินค้าจากรัสเซียที่อาจถูกมาตรการลงโทษ อย่างไรก็ตาม หากสงครามยืดเยื้อ ผลกระทบจะยิ่งมากขึ้นผ่านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งจะกระทบภาคอุตสาหกรรมในวงกว้าง และกดดันให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลมากขึ้น มาร่วมกันเอาใจช่วยให้สงครามข้างต้นยุติโดยเร็วกันครับ
ที่เกี่ยวข้อง
-
ควันหลงโอลิมปิก “Paris 2024”…ความแยบยลที่มากกว่ากีฬา
เพิ่งจบไปหมาดๆ สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ก่อนอื่นผมต้องขอแสดงความยินดีกับทัพนักกีฬาไทยที่คว้ามาได้ถึง 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงินและ 2 เหรียญทองแดง นักกีฬาทุกคนสร้างรอยยิ้มและความภาค...
24.09.2024 -
หนี้ทางเทคนิคและหนี้ด้านสิ่งแวดล้อม ... ชนวนเหตุที่ทำให้ธุรกิจติดบ่วง
ถ้าพูดถึง “หนี้” ผมคิดว่าท่านที่ทำธุรกิจคงคุ้นเคยและทราบดีว่าเมื่อมีหนี้ก็ย่อมมี “ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย” การเป็นหนี้แต่ละครั้งจึงต้องคิดอย่างรอบคอบแล้วว่า หนี้ก้อนนี้จะช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นคุ้มค่...
20.04.2024
-
ตลาดแอฟริกา : แหล่งลงทุนที่ทำกำไรดีอย่างคาดไม่ถึง
ท่านผู้อ่านครับ ในปีที่ผ่านมาผมได้เล่าถึงโอกาสการค้าการลงทุนในทวีปแอฟริกาไปแล้วหลายครั้ง ว่าเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ ทั้งในแง่ทรัพยากรธรรมชาติ ขนาดตลาด สัดส่วนประชากรในวัยแรงงาน การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาวะเศรษฐกิจ และ...
22.01.2019 -
จับสัญญาณความเสี่ยงธุรกิจจาก 3 ปัญหาคอขวดโลก
หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ปัญหาคอขวด (Bottlenecks) อย่างการที่ต้องรอคิวช่องตรวจหนังสือเดินทางเป็นเวลานานที่สนามบิน โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาวที่ความต้องการใช้บริการหนาแน่นแต่ช่องการให้บริการมีจำกัด ซึ่งปัญหาคอขวดโลกก็มีสาเหตุ...
29.03.2024 -
อยาก Growth แบบไม่สะดุด ... ต้องมาให้สุดที่ Green Growth
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่ง EXIM BANK ก่อตั้งมาครบ 30 ปีพอดีครับ สำหรับการเริ่มต้นเข้าสู่วัยเลข 3 นี้ ผมขอย้ำว่า EXIM BANK พร้อมแล้วครับที่จะเดินหน้าสู่บทบาทใหม่ในการเป็น Green Develo...
29.02.2024