เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ (Discontinued)
ในทุกประเทศ ภาคการเงินและการธนาคารนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจ นอกจากนี้ รูปแบบหรือลักษณะของธุรกรรมทางการเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งก็มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดที่สินค้าและบริการมีการไหลเวียน
เข้าออกจำนวนมากเฉกเช่นประเทศไทย บทความเกร็ดการเงินระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นช่องทาง
ในการนำเสนอข้อมูลทางการเงินในประเทศต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในการลงสนามการค้าโลก
เริ่มต้นบทความแรกด้วยเรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงินกับเมียนมา ที่เดิมเราอาจจะเห็นว่าการค้ากับประเทศเมียนมาส่วนใหญ่ทำผ่าน Trader ชายแดน และชำระเงินกันในระบบโพยก๊วน แต่หลังจากสหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่มีต่อเมียนมาตั้งแต่ปี 2559 ประกอบกับนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้นก็ทำให้ภาคธนาคารของเมียนมาพัฒนาขึ้นอย่างมาก ขณะเดียวกันมูลค่าการค้าขายกับเมียนมาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศผ่านระบบธนาคารกลายเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ประกอบการจึงควรทำความรู้จักธนาคารสำคัญในเมียนมา โดยเฉพาะธนาคารของรัฐ เนื่องจากถือเป็นธนาคารที่มีบทบาทสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบัน ทั้งนี้ ธนาคารรัฐในเมียนมามีทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่
- Myanma Economic Bank (MEB) ถือเป็นธนาคารใหญ่อันดับสองของเมียนมาในแง่ศักยภาพของ
การเข้าถึงลูกค้า (รองจาก KBZ Bank ซึ่งเป็นธนาคารเอกชน) โดยมีสาขาราว 350 แห่ง และมีพนักงานราว 9 พันราย ซึ่งด้วยสาขาที่มีจำนวนมากทำให้เป็นธนาคารที่เข้าถึงชาวเมียนมาในพื้นที่ชนบท (ร้อยละ 70 ของชาวเมียนมาทั้งประเทศ) อย่างไรก็ตาม สำหรับด้านการปล่อยสินเชื่อ MEB เน้นสนับสนุนทางการเงินให้กับภาครัฐเป็นหลัก อาทิ การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล การสนับสนุนทางการเงินกับรัฐวิสาหกิจ และ
การปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารรัฐอื่นๆ ขณะที่การสนับสนุนทางการเงินกับภาคเอกชนในเมียนมามีสัดส่วนน้อยกว่า (ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของสินทรัพย์ของธนาคาร) - Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) เป็นธนาคารที่เน้นให้บริการทางการเงินด้านการค้าระหว่างประเทศด้วยเครือข่าย Correspondent Bank กว่า 263 ธนาคาร ใน 54 ประเทศทั่วโลก ถือเป็นธนาคารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเลือกเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศ
- Myanma Investment and Commercial Bank (MICB) มีขนาดเล็กกว่า MEB และ MFTB อีกทั้งยังให้บริการที่คล้ายคลึงกับทั้งสองธนาคารไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจในประเทศและธุรกิจระหว่างประเทศ แต่จุดเด่นของ MICB คือ การเน้นสนับสนุนผู้ประกอบการภาคเอกชนเป็นหลัก เพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมียนมา
- Myanma Agricultural and Development Bank (MADB) เน้นให้บริการแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ
ในพื้นที่ชนบททั้งสินเชื่อระยะสั้นและสินเชื่อระยะยาว มีลูกค้าราว 2 ล้านราย พนักงานราว 2,500 คน และสาขา 230 แห่งทั่วประเทศ
ทั้งนี้ สำหรับด้านการค้าระหว่างประเทศ ธนาคารรัฐอย่าง MFTB และ MICB ถือเป็นธนาคารที่ควรทำความรู้จัก เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีประสบการณ์ด้านธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศมายาวนานประกอบกับเป็นธนาคารที่รัฐสนับสนุนจึงมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง และมีโอกาสที่คู่ค้าชาวเมียนมาจะใช้บริการทางการเงินจากธนาคารทั้งสองแห่ง อาทิ การโอนเงินระหว่างประเทศ และการเปิด L/C
ที่เกี่ยวข้อง
-
มาตรการ COVID-19 ที่ควรรู้สำหรับผู้ประกอบการในเมียนมา
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมานับว่ายังอยู่ในวงจำกัด โดยปัจจุบัน (ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในเมียนมามีอยู่เพียง 27 ราย ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำห...
30.04.2020 -
เตรียมความพร้อมก่อนเมียนมาบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่
กฎหมายเครื่องหมายการค้า (Trademark Law) เป็นหนึ่งในกฎหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจ หากคิดจะดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นเสมือนเกราะป้องกันที่ช่วยผู้ประกอบการลดความเสี่ย...
01.11.2019
-
Q&A ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ลงทุนใน สปป.ลาว
การหาพื้นที่เพื่อตั้งกิจการนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ใน สปป.ลาว ที่เป็นตลาดบ้านใกล้เรือนเค...
01.04.2019 -
เอกสารสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน สปป.ลาว
เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ การปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนเป็นเสมือนหน้าด่านที่จะสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาให้ละเอียดและทำความเข...
01.07.2019 -
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่ของ สปป.ลาว
ในช่วงที่ผ่านมา สปป.ลาว ทยอยปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับให้สอดรับกับบริบททางสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหนึ่งในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว ที่มีการปรับปรุงและเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 กุม...
31.03.2020