ส่องเทรนด์โลก

ธุรกิจเวียดนาม Go Green … Golden Opportunity ของผู้ประกอบการไทย

เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วลำดับต้นๆ ของโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่าปีละ 5% ติดต่อกันตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี โดยภาคการผลิตของเวียดนามที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้เวียดนามมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก (เฉลี่ยปีละ 5.95% ในระหว่างปี 2502-2562) เป็นประเทศที่มีมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) สูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รองจากอินโดนีเซีย และเมียนมา) และสร้างมลพิษทางทะเลจากขยะพลาสติกเป็นอันดับ 4 ของโลก การที่เวียดนามประกาศเจตนารมณ์สู่เส้นทางสาย Greenด้วยการตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี 2593  จึงนับเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเวียดนามตระหนักดีว่าหากปล่อยให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้เสน่ห์ดึงดูดการลงทุนของเวียดนามลดลง และจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งนี้ มาตรการและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลเวียดนามประกาศเป้าหมายในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ห้ามหรือจำกัดการใช้รถจักรยานยนต์ในบางพื้นที่หลังปี 2573 หรือเร็วกว่านั้นปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ และปรับลดกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนจากถ่านหินและเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมาย  Net Zero Emission ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน 

นอกจากภาครัฐแล้ว ปัจจุบันภาคธุรกิจในเวียดนามก็เริ่มปรับตัวสู่เส้นทางสาย Green เช่นกัน เพื่อรับมือกับการที่หลายประเทศต่างพยายามผนวกต้นทุนสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกลไกตลาดซื้อขายทั่วไป อาทิ เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มจากสินค้าที่มีการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยการเรียกเก็บภาษีนำเข้าหรือเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสูง อีกทั้งผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมีจำนวนไม่น้อยที่นำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกสินค้าหรือแบรนด์ที่จะสนับสนุน  การปรับตัวของภาคธุรกิจในเวียดนามจึงมีให้เห็นแล้วในหลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เวียดนามเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลก หรือธุรกิจที่เวียดนามมีแบรนด์ของตนเอง อาทิ

อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ... เปลี่ยนจากการผลิต “เสื้อร้ายต่อโลก” สู่ “เสื้อรักษ์โลก”

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (Vietnam Textile and Apparel Association: VITAS) ตั้งเป้าว่าในปี 2573 เวียดนามจะเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ สำหรับผู้ซื้อที่ต้องการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแบบยั่งยืน

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าในเวียดนาม ซึ่งเป็นฐานการผลิตเสื้อผ้าของแบรนด์ชั้นนำระดับโลก อาทิ Nike, Adidas, Zara และ Uniqlo จำเป็นต้องเร่งปรับตัวสู่กระแสสีเขียว เนื่องจาก

  • อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จึงเป็นสินค้าเป้าหมายที่กลุ่มผู้บริโภคเรียกร้องให้ทั้งเจ้าของแบรนด์และทุก Supplier ของแบรนด์เร่งปรับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะจะมีส่วนอย่างมากในการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของบางประเทศใน EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำคัญของเวียดนาม กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีกระบวนการตรวจสอบ Supplier ของตนเองตลอดห่วงโซ่การผลิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำลายสิ่งแวดล้อม จึงเป็นอีกแรงผลักให้ Supplier ในเวียดนามต้องเร่งปรับตัว เพื่อให้เป็นผู้ที่ถูกเลือก หากแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำใช้วิธีลดจำนวน Supplier ให้เหลือเพียงไม่กี่รายเพื่อให้สะดวกในการติดตาม

ล่าสุดสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนามรายงานว่า แบรนด์เครื่องแต่งกายรายใหญ่ในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ EU ต่างเพิ่มคำสั่งซื้อเสื้อผ้าหรือทำสัญญาระยะยาวกับ Supplier ในเวียดนามที่มีผลิตภัณฑ์หรือมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการใช้น้ำ เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน และใช้วัสดุรีไซเคิล รวมถึงมีแนวโน้มจะทยอยยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าจาก Supplier ที่ไม่ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันบางแบรนด์เสื้อผ้าได้เข้ามาช่วย Supplier ในการปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ Decathlon ผู้ผลิตเสื้อและอุปกรณ์กีฬาจากฝรั่งเศส ร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) สนับสนุน Supplier ของ Decathlon ในการเปลี่ยนการใช้พลังงานจากถ่านหินเป็นชีวมวล พร้อมให้คำปรึกษาแนวทางการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเปิดอบรมผ่าน e-Learning เรื่องการใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมยานยนต์ … จาก “พลังงานฟอสซิล” สู่ “พลังงานสีเขียว”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการเวียดนามเริ่มเข้ามาลงทุนผลิตยานพาหนะพลังงานสีเขียว รวมถึงสถานีชาร์จ และแบตเตอรี่ อาทิ PEGA, Dat Bike และ VinFast เนื่องจาก

  • ทางการเวียดนามมีแผนจะห้ามขับขี่รถจักรยานยนต์ในบางพื้นที่ของเมืองสำคัญหลังจากปี 2573  และสำหรับฮานอยอาจเลื่อนให้เร็วขึ้นเป็นปี 2568 เพราะรถจักรยานยนต์ใช้น้ำมัน ซึ่งมีผู้ใช้ในประเทศอยู่ถึงกว่า 40 ล้านคัน เป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศ (PM 2.5) โดยอาจมีมาตรการผ่อนปรนเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม จึงคาดว่าความต้องการเปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า จะมีเพิ่มขึ้น
  • ชาวเวียดนามมีรายได้เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดย EIU ประเมินว่าจำนวนครัวเรือนในเวียดนาม ที่มีรายได้มากกว่าปีละ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ จะเพิ่มขึ้นเป็นราว 10 เท่าตัว ในช่วงปี 2555-2569 และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงพร้อมที่จะเปลี่ยนจากรถจักรยานยนต์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันไปใช้รถยนต์ที่มีราคาแพงขึ้น และสามารถโดยสารได้พร้อมกันทั้งครอบครัว และล่าสุดเมื่อต้นปี 2565 ภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนให้เปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ยกเว้นค่าจดทะเบียนครั้งแรกสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่จะยิ่งกระตุ้นให้ชาวเวียดนามเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
  • สำหรับผู้ประกอบการยานยนต์ของเวียดนามที่เคลื่อนไหวสู่เส้นทางสีเขียวอย่างโดดเด่นในขณะนี้ คือ VinFast ค่ายรถยนต์จากเครือธุรกิจรายใหญ่ในเวียดนามอย่าง VinGroup ซึ่งนับได้ว่าเป็นบริษัทยานยนต์รายแรกๆ ของโลกที่หันไปผลิตรถยนต์ระบบไฟฟ้าเต็มรูปแบบ โดยบริษัทฯ ประกาศมุ่งเน้นไปที่ยานยนต์ไฟฟ้าเต็มตัว และจะหยุดผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันภายในสิ้นปี 2565 นอกจากนี้ ยังได้เข้าไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ ในสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2567 โดยมีกำลังการผลิตปีละ 150,000 คัน และอยู่ระหว่างพิจารณาแผนก่อสร้างโรงงานในเยอรมนี

นอกจากภาครัฐ และภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลัง Go Green แล้ว ยังมีอีกหลายธุรกิจในเวียดนามที่กำลังเดินไปในเส้นทางนี้  เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวที่มีแผนจะพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco-Tourism) มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน และอุตสาหกรรมเกษตรที่วางยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และในปี 2593 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรลง 10% จากระดับปี 2563 รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคเวียดนามก็มีแนวโน้มจะ Go Green และพร้อมสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้ จากผลสำรวจของ Euromonitor พบว่า 39% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะซื้อสินค้าที่ผลิตอย่างยั่งยืน (ทั่วโลก 32%) และ 20% สนใจจองทริปท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในช่วงวันหยุด (ทั่วโลก 8%) ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยที่เล็งเห็นโอกาสและพร้อมจะปรับสินค้า/บริการให้เข้ากับเทรนด์ดังกล่าวยังมีโอกาสทองอีกมากจากการที่เวียดนาม Go Green

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
  • ไขรหัสปริศนา 2-0-2-3...รับมือเศรษฐกิจปีกระต่าย

    ปีเสือที่ผ่านมาโลกได้เผชิญกับความท้าทายในหลากหลายมิติ ท่ามกลางความพยายามในการฟื้นตัวจากวิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อเข้าสู่ปีกระต่าย คงต้องยอมรับว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูงทั้งจา...

    calendar icon31.01.2023
  • รู้จักไฮโดรเจน…พลังงานทางเลือกแห่งอนาคตเพื่อลดโลกร้อน

    แม้การประชุม COP27 จะจบลงด้วยบทสรุปที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนัก แต่ประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่ยังคงเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกทดแทนพลังงานฟอสซิลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำ...

    calendar icon30.11.2022
Most Viewed
more icon
  • Gen Z กับทิศทางตลาดอาหารโลก

    กลุ่ม Gen Z (Generation Z) คือ กลุ่มคนที่เกิดในช่วงหลังปี 2543 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในวัยเด็กและวัยรุ่นอายุไม่ถึง 20 ปี Gen Z เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่หลายธุรกิจเริ่มให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มประ...

    calendar icon24.04.2019
  • ทำความรู้จัก Telemedicine... เทรนด์ธุรกิจเติบโตดีหลัง COVID-19

    การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มีส่วนกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มทดลองใช้บริการการแพทย์ทางไกลหรือ Telemedicine มากขึ้น เพราะบริการดังกล่าวทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้แม้อยู่คนละที่กับผู้ป่วย ...

    calendar icon31.08.2020
  • เกาะติดกระแสการค้าสินค้าออนไลน์ในกัมพูชา

    กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน แม้การค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปแบบดั้งเดิม แต่การค้าในรูปแบบของ e-Commerce ก็มีการเติบโตโดดเด่นและเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อ...

    calendar icon31.10.2018
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview