New Frontier's RADAR
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ก่อให้เกิดคำถามจากนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศถึงศักยภาพในการรับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศที่เป็นตลาดใหม่ของไทยอย่าง CLMV และอินเดีย เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งนี้รุนแรงกว่าโรคระบาดที่เคยมีมาในอดีต และจำเป็นต้องมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือ
ทั้งนี้ หากประเมินความพร้อมด้านสาธารณสุขโดยพิจารณาจาก Global Health Security Index พบว่ากลุ่มประเทศ CLMV รวมถึงอินเดีย มีระดับความพร้อมด้านสาธารณสุขต่ำกว่าไทยค่อนข้างชัดเจน ซึ่งนับเป็นความน่ากังวลหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 รุนแรงขึ้นในประเทศดังกล่าว เช่นเดียวกับความพร้อมด้านงบประมาณในการดูแลเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยหากพิจารณารายได้ทางการคลังต่อประชากร พบว่าทั้งหมดยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แสดงให้เห็นว่าการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละประเทศทำได้จำกัด โดยเฉพาะอินเดีย และ สปป.ลาว ที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว ยิ่งทำให้การกู้เงินของภาครัฐเพื่อใช้ดูแลสภาพเศรษฐกิจและอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ภาคการเงินทำได้ยาก และมีต้นทุนสูง ทั้งนี้ ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไปจนถึงมาตรการที่แต่ละประเทศใช้ในการจำกัดการแพร่ระบาดและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
มาตรการและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
กัมพูชา
มาตรการ
- ธนาคารกลางกัมพูชา (NBC) ดำเนินมาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ระบบการเงิน อาทิ การลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายสำหรับสกุลเงินเรียลจาก 8% เหลือ 7% และการผ่อนผันการบังคับใช้เกณฑ์การดำรงเงินกองทุนของสถาบันการเงิน โดยคาดว่าหลังการดำเนินมาตรการดังกล่าว ระบบการเงินกัมพูชาจะมีสภาพคล่องรวมราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจในการรับมือกับผลกระทบจาก COVID-19 [อ้างอิง]
- รัฐบาลเตรียมกองทุนฉุกเฉินเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 มูลค่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หากการระบาดนาน 6 เดือน) และ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หากการระบาดนานถึง 1 ปี) โดยจะตั้งกองทุนด้วยการลดรายจ่ายภาครัฐลง 50%
- รัฐบาลยกเว้นภาษีรายเดือนทุกประเภทสำหรับธุรกิจโรงแรม/เกสต์เฮ้าส์ ในจังหวัดเสียมราฐ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- พ.ค. 63
สปป.ลาว
มาตรการ
- ธนาคารแห่ง สปป.ลาว มอบหมายให้ธนาคารใน สปป.ลาว ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาทิ การขยายระยะเวลาชำระหนี้ การลดอัตราดอกเบี้ย และการลดค่าธรรมเนียม รวมถึงการปล่อยเงินกู้ใหม่สำหรับฟื้นฟูการผลิต โดยธนาคารที่มีมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวแก่ผู้ประกอบการจะได้รับการผ่อนผันเกณฑ์การจัดชั้นหนี้และการหักสำรองหนี้ที่ถูกจัดชั้น
- สปป.ลาว ออกมาตรการป้องกันการระบาดของ COVID-19 ดังนี้
- การปิดด่านประเพณีและด่านท้องถิ่นทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. - 20 เม.ย. 63 ส่วนด่านสากลยังเปิดให้มีการข้ามแดน แต่เพิ่มมาตรการคัดกรองการข้ามแดนของบุคคล
- การประกาศใช้มาตรการ Lockdown ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. – 19 เม.ย. 63 และอาจพิจารณาขยายเวลาหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ดีขึ้น
เมียนมา
มาตรการ
- รัฐบาลเมียนมาประกาศมาตรการลดผลกระทบให้ภาคธุรกิจ ประกอบด้วยมาตรการสนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 1 แสนล้านจ๊าต (ราว 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราดอกเบี้ย 1% ระยะเวลาเงินกู้ 1 ปี สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อาทิ เครื่องนุ่งห่ม และธุรกิจท่องเที่ยว ไปจนถึงผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงยังได้ออกมาตรการยกเว้นและเลื่อนการชำระภาษี
- เมียนมาประกาศงดรับเครื่องบินโดยสารขาเข้าตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. - 13 เม.ย. 63 พร้อมระงับการออกวีซ่าให้ชาวต่างชาติเป็นการชั่วคราว
ผลกระทบ
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมาเผชิญปัญหา EU ยกเลิกคำสั่งซื้อหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในยุโรปทวีความรุนแรงขึ้น ซ้ำเติมจากก่อนหน้านี้ที่ต้องประสบปัญหาวัตถุดิบจากจีนขาดแคลน ทั้งนี้ ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. 63 ส่งผลให้โรงงานเครื่องนุ่งห่มราว 20 แห่ง หยุดดำเนินการ และทำให้แรงงานไม่น้อยกว่า 1 หมื่นราย ต้องตกงาน
เวียดนาม
มาตรการ
- ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้แก่ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Refinancing Rate ลง 1% มาอยู่ที่ 5% รวมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ย Discount Rate ลง 5% มาอยู่ที่ 3.5% และ Open Market Operation Rate ลง 0.5% มาอยู่ที่ 3.5% เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินในการช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 [อ้างอิง]
- รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนภาคธนาคารในการปล่อยสินเชื่อวงเงินรวม 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งดำเนินมาตรการลดหย่อนภาษีและเลื่อนการชำระภาษี/ค่าเช่าที่ดิน คิดเป็นมูลค่า 1.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เวียดนามระงับการออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวเป็นเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค. 63 ยกเว้นการเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทูต และประกาศห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. 63 ล่าสุดเตรียมพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการ Lockdown เมืองหลักทางเศรษฐกิจ หลังมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวมเกือบ 200 ราย
อินเดีย
มาตรการ
- รัฐบาลอินเดียประกาศแผนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมทั้งการแจกจ่ายอาหารและการให้เงินช่วยเหลือ รวมทั้งประกาศ Lockdown ทั่วประเทศเป็นเวลา 21 วัน โดยห้ามประชาชนออกจากเคหะสถานโดยไม่มีความจำเป็น รวมถึงประกาศหยุดให้บริการระบบขนส่งสาธารณะและให้โรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว
ผลกระทบ
- Moody’s ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียปี 2563 ลงเหลือ 3% จากคาดการณ์เดิมเมื่อ ก.พ. 63 ที่ 5.4% และ พ.ย. 62 ที่ 6.8% เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
ทำให้การบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว นอกจากนี้ อินเดียยังคงเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องและหนี้เสียของภาคธนาคารที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องมาจากปี 2562 - ผู้ผลิตยานยนต์ในอินเดียประกาศระงับการผลิตหลายราย อาทิ Mahindra & Mahindra, Mercedes-Benz, Fiat, Tata Motors, Toyota Motor, Honda, Volkswagen, Hyundai Motor, Bajaj Auto, Hero MotoCorp รวมถึง Maruti Suzuki ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ที่สุดในอินเดีย
ข้อสังเกต : ปัจจุบันแต่ละประเทศเลือกใช้มาตรการต่างๆ แตกต่างกัน โดยประเทศในกลุ่ม CLMV เน้นเพิ่มสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจผ่านการใช้มาตรการลดดอกเบี้ย เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินของธุรกิจในช่วงที่การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก ขณะที่มาตรการเพิ่มสภาพคล่องของอินเดียจะเน้นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรงผ่านการใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งยังคงต้องติดตามต่อไปว่าแต่ละประเทศจะสามารถอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบเศรษฐกิจและผ่านพ้นวิกฤตการระบาดของ COVID-19 ไปได้อย่างไร
หมายเหตุ : ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศรวบรวมทั้งจากแหล่งข่าวต่างประเทศและแหล่งข่าวท้องถิ่น ไปจนถึงแหล่งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและที่ปรึกษาทางกฎหมาย
ที่มา : - www.phnompenhpost.com
- jclao.com
- www.thaipost.net
- www.mmtimes.com
- vietnamnews.vn
- en.thesaigontimes.vn
- www.cnbc.com
ที่เกี่ยวข้อง
-
New Frontier's RADAR เดือนกุมภาพันธ์ 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมากับแนวโน้มการค้าการลงทุนของไทย เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 กองทัพเมียนมาได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในประเทศหลังการทำรัฐประหาร และมอบหมายให้รองประธานาธิบดีอู มินต์ ส่ว...
15.02.2021 -
New Frontier's RADAR เดือนพฤศจิกายน 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนภายใต้ AFTA ภาพรวมการส่งออกของไทยภายใต้ AFTA ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวลงมากกว่ามูลค่าส่งออกรวมจากไทย...
12.11.2020
-
New Frontier's RADAR เดือนสิงหาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์ธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ New Frontier Key Takeaways ผลกระทบภาคท่องเที่ยวแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นกับสัดส่วนการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจรวม แนวโน้มการฟื้นตัวของนั...
07.08.2020 -
New Frontier's RADAR เดือนพฤศจิกายน 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนภายใต้ AFTA ภาพรวมการส่งออกของไทยภายใต้ AFTA ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวลงมากกว่ามูลค่าส่งออกรวมจากไทย...
12.11.2020 -
New Frontier's RADAR เดือนมีนาคม 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามเดือน ม.ค. 2564 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามขยายตัวอย่างร้อนแรงตั้งแต่เริ่มต้นปี 2564 ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยมูล...
08.03.2021