New Frontier's RADAR

New Frontier's RADAR เดือนกรกฎาคม 2563

ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ

หลายประเทศ New Frontier เผชิญแรงกดดันจากภาระหนี้ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังน่ากังวล

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 รัฐบาลของประเทศทั่วโลกต่างเร่งดำเนินการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อเยียวยาประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจหดตัวรุนแรง โดย IMF ประเมินว่าทั่วโลกประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินมหาศาลดังกล่าวสร้างความกังวลว่าจะเป็นภาระหนี้และสร้างข้อจำกัดให้กับรัฐบาลในอนาคต ทั้งนี้ IMF คาดว่าสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP ของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดใหม่จะพุ่งขึ้นจาก 52% เป็น 63% ซึ่งเป็นระดับที่น่ากังวล (Benchmark กรอบความยั่งยืนที่ 60%) โดยประเทศตลาดใหม่ อาทิ บราซิล อินเดีย แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก เป็นกลุ่มประเทศที่คาดว่าจะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นสูง (ปรับขึ้นสูงกว่าระดับ 60% ต่อ GDP) เนื่องจากต้องเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ค่อนข้างรุนแรง  

ทั้งนี้ ภาระหนี้และการขาดดุลทางการคลังที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ประเทศต่างๆ มีแนวโน้มชะลอการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากสถานะทางการคลังที่แย่ลง ตัวอย่างเช่นกรณีที่รัฐบาลอินเดียประกาศเลื่อน 5 โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (Five fast-track projects) ออกไปเป็นปีงบประมาณ 2564 จากกำหนดเดิมที่คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2564 และประกาศจะลดงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างลง
  • กิจการของรัฐในบางประเทศอาจเผชิญปัญหาทางการเงินที่รุนแรงขึ้น อาทิ แอฟริกาใต้ที่รัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน Eskom และสายการบินแห่งชาติ South African Airways ประสบปัญหาด้านการบริหารงานและด้านการเงินมาตั้งแต่ก่อนหน้าวิกฤต COVID-19 การที่สถานะทางการคลังของรัฐบาลย่ำแย่ลงจะยิ่งซ้ำเติมความสามารถของรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าว
  • อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ อาทิ อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ภาครัฐ มีแนวโน้มถูกปรับลดลง ส่งผลให้ต้นทุน
    การกู้ยืมและระดมทุนในตลาดโลกของประเทศดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ซ้ำเติมความต้องการใช้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 Fitch Rating ประกาศรายชื่อประเทศที่ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือไปแล้วถึง 33 ประเทศ มากกว่าตัวเลขทั้งปีที่เคยเกิดขึ้นในปีก่อนๆ
  • ค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนลง เนื่องจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินประเทศดังกล่าว จนเกิดการจำหน่ายสินทรัพย์เพื่อไปถือครองสินทรัพย์ในประเทศอื่นแทน ทำให้ค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนลงตามกัน

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
  • New Frontier's RADAR เดือนมกราคม 2564

    ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปี 2563 ขยายตัว 1.6% และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.7% ในปี 2564 ขณะที่ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามรา...

    calendar icon13.01.2021
  • New Frontier's RADAR เดือนธันวาคม 2563

    ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์หนี้สาธารณะของ CLMV และอินเดีย ทั้งอินเดียและ สปป.ลาว เป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง แต่ทั้งสองประเทศกลับมีความเสี่ยงจากภาระหนี้แตกต่างกัน โดยภาระหนี้ของอินเดียยังไ...

    calendar icon09.12.2020
Most Viewed
more icon
  • New Frontier's RADAR เดือนสิงหาคม 2563

    ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์ธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ New Frontier Key Takeaways ผลกระทบภาคท่องเที่ยวแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นกับสัดส่วนการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจรวม แนวโน้มการฟื้นตัวของนั...

    calendar icon07.08.2020
  • New Frontier's RADAR เดือนพฤศจิกายน 2563

    ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนภายใต้ AFTA ภาพรวมการส่งออกของไทยภายใต้ AFTA ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวลงมากกว่ามูลค่าส่งออกรวมจากไทย...

    calendar icon12.11.2020
  • New Frontier's RADAR เดือนมกราคม 2564

    ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปี 2563 ขยายตัว 1.6% และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.7% ในปี 2564 ขณะที่ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามรา...

    calendar icon13.01.2021
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products
  • Finance Preview
  • Finance Preview
  • Finance Preview